...
...
เผยแพร่: 5 ต.ค. 2565
หน้า: 187-196
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 518
Download: 158
Download PDF
แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
Guidelines For Academic Administration In Small–Sized Schools Under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
ปองคุณ พวงปัญญา, สาโรจน์ เผ่าวงศากุล, นิพนธ์ วรรณเวช
Author
Pongkhun Puangpanya, Saroch Pauwongsakul, Nipon Wonnawed

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการและแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 123 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา

2. แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ มีรายละเอียดดังนี้

2.1 แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ สถานศึกษาอาศัยความร่วมมือของชุมชน ผู้ปกครอง ครูผู้สอน ผู้เรียน ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษาในการกำหนดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา

 2.2 แนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ คือ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

2.3 แนวทางในการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน คือ สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้การประเมินตามสภาพจริง ทั้งด้านความรู ความคิด ด้านการแสดงออกและกระบวนการปฏิบัติ ภาระงาน และด้านคุณธรรมจริยธรรมคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์

2.4 แนวทางในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนมีการประชุมวางแผนในการให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาชี้แจงให้เห็นบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

2.5 แนวทางในการนิเทศการศึกษา คือ สถานศึกษาเลือกใช้การนิเทศการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เหมาะสมกับปัญหา ความต้องการและจำเป็นในการพัฒนาของบุคลากรในสถานศึกษา 

2.6 แนวทางในการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ ผู้บริหารจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนให้แก่ครูได้มีความเข้าใจกระบวนการวิจัยและนำเอาปัญหามาใช้ในการวิจัยอย่างเป็นระบบ

Abstract

The research aimed to study guidelines for academic administration in small-sized schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample this study was 123 teachers the under of small education institution. By using the stratified sample method each educations area. The research instrument was a 5-level scale questionnaire, with the reliability was 0.98 and the statistics used in the data analysis consisted
of mean, standard deviation, and contentment analysis.

The findings:

1. The level of the academic administration was found high.

2. The guidelines for academic administration in small- sized schools were as follows:                                                

2.1 A school-based curriculum administration: the community cooperation, parents, teachers, students, also educational institution committee in determining the vision of school.

2.2 Learning process development: the institution provided activities in accordance with students’ interests and aptitude and taking local wisdom to participate in teaching and learning management as appropriate to jointly develop students according to their potential.   

2.3 Evaluation and learning output transfer: Teachers were promoted to use real-world assessments by institution, in term knowledge, ideas, expressions, processes, workloads, morality, and desirable characteristics.

2.4 Internal quality assurance system development: Administrator and teachers have meeting to plan for educating. To understanding of role, duty, and responsibility.

2.5 Education supervision: The institution chosen the way of supervision to be appropriate for the problem, needs, and necessary for development of personnel in educational institution.

2.6 Research for education quality development: Administrator provide a workshop on classroom action research to understand the research process, and apply the problem to systematics research

คำสำคัญ

แนวทางการบริหารงานวิชาการ, สถานศึกษาขนาดเล็ก

Keyword

guidelines for academic administration; small-sized school

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093