...
...
เผยแพร่: 5 ต.ค. 2565
หน้า: 154-164
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1099
Download: 293
Download PDF
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Creative Leadership of School Administrators Affecting Teacher’s Performance Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
ณัฐพล ทองมุล, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, เทพรังสรรค์ จันทรังษี
Author
Natthaphon Thongmul, Ploenpit Thummarat, Theprangsan Jantharangsee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 344 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 77 คน และครูผู้สอนจำนวน 267 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือแบบสอบถามระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.35 - 0.89 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และแบบสอบถามระดับการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.62 - 0.90 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. การปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับสูง (rxy = 0.88)

6. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของครูได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความยืดหยุ่น และด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

7. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาไว้มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านวิสัยทัศน์ ได้แก่ สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วม มองภาพความสำเร็จในอนาคต และตระหนักถึงเป้าหมายองค์การ 2) ด้านความยืดหยุ่น ได้แก่ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการ ปรับตัวตามสถานการณ์ และเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็น และ 3) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้แก่ การคิดใหม่ หาวิธีการใหม่ เรียนรู้จากต้นแบบความเป็นเลิศ และเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, determine the discriminative power, and establish guidelines for developing creative leadership of school administrators affecting teacher performance under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The samples, obtained through multi - stage random sampling, consisted of 77 school administrators and 267 teachers under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2020, yielding a total of 344 participants. The sample size was determined by Krejcie and Morgan’s table. The data was collected using two sets of 5-point rating scale questionnaires containing a set of questionnaires on a level of creative leadership with the discriminative power from 0.35 to 0.89, and the reliability of 0.83, and a set of questionnaires on a level of teacher performance with the discriminative power from 0.62 to 0.90, and the reliability of 0.80. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test for Independent Samples, One-Way ANOVA, and Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient analysis, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The creative leadership of school administrators as perceived by participants was overall at a high level.

2. The teacher performance as perceived by participants was overall at the high level.

3. The overall creative leadership of school administrators as perceived by participants, classified by positions and work experience was different at the .01 level of significance, whereas in terms of school sizes, overall, there was no difference.

4. The teacher performance as perceived by participants, classified by positions and work experience in overall was different at the .01 level of significance, whereas in terms of school sizes, overall, there was no difference.

5. The overall creative leadership of school administrators was correlated positively with the teacher performance at a high level (rxy=0.88).

6. Three aspects of school administrators’ creative leadership, namely visions, flexibility, and creativity, could predict teacher performance at the .01 level of significance.

7. The research proposed guidelines for developing creative school administrators’ creative leadership consisted of three aspects: 1) Visions included supporting participation, visualizing success, and being aware of the goals of organization; 2) Flexibility included operational adjustments, self-adjustment, and being open to feedback; and 3) Creative initiatives included: seeking new ideas, new methods, learning from exemplars of excellence, and encouraging individuals to express opinions

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, การปฏิบัติงานของครู

Keyword

Creative Leadership, Teachers’ Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093