บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 318 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 91 คน และครูผู้สอนจำนวน 227 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือแบบสอบถามระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.82 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามระดับความผูกพันในองค์กรของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.89 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ความผูกพันในองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความผูกพันในองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน
5. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในองค์กรของครูโดยรวมอยู่ในระดับสูง (rxy = 0.57) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีจำนวน 2 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเคารพ
7. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มี 2 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบ โดยผู้บริหารมีการปฏิบัติตามภาระหน้าที่ในบทบาทของผู้บริหารที่ดี และด้านความเคารพ โดยผู้บริหารควรประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ ให้เกียรติ ให้การยอมรับในความสามารถของครู
Abstract
The purposes of this research were: to investigate, compare, identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing ethical leadership of school administrators affecting the organizational commitment of teachers under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3. The sample consisted of school administrators and teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3, yielding a total of 318 participants, including 91 school administrators and 227 teachers. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s table and multi-stage sampling. The tools for data collection were two sets of 5-level rating scale questionnaires consisting of a set of questionnaires on the level of ethical leadership with the discriminative power ranging from 0.20 to 0.82 and the reliability of 0.96, and a set of questionnaires on the level of organizational commitment of teachers with the discriminative power ranging from 0.21 to 0.89 and the reliability of 0.95. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s Product – Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression analysis.
The findings were as follows:
1. School administrators’ ethical leadership was overall at a high level.
2. Teachers’ organizational commitment in overall and each aspect was at a high level.
3. School administrators’ ethical leadership as perceived by participants with different positions, work experience and school sizes were different at the .01 level of significance.
4. Teachers’ organization commitment as perceived by participants with different positions overall was different at the .01 level of significance. In terms of work experience, there was different at the .05 level of significance, whereas in terms of school sizes, teachers’ organization commitment showed no differences.
5. School administrators’ ethical leadership overall was positively correlated with teachers' organizational commitment at a high level (rxy = 0.57) with the .01 level of significance.
6. School administrators’ ethical leadership could predict the organizational commitment of teachers with the .01 level of significance consisting of two aspects: Responsibility and Respect.
7. This research proposed the guidelines for developing ethical leadership of school administrators under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3, for two aspects: Responsibility. School administrators should perform their duties in accordance with their roles of being good administrators, and Respect. Administrators should exhibit their ethical leadership behaviors in line with all applicable rules and regulations. Administrators are also advised to respect and recognize teachers’ capabilities
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางจริยธรรม, ความผูกพันในองค์กรของครูKeyword
Ethical Leadership, Organizational Commitmentกำลังออนไลน์: 91
วันนี้: 2,071
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,270
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093