บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์การใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ครูในโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 97 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โดยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’ s product moment correlation coefficient)
ผลการศึกษา พบว่า
การใช้อำนาจของผู้บริหาร โดย ด้านอำนาจอ้างอิงเป็นอำนาจที่อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา คือ ด้านอำนาจการให้รางวัล ด้านอำนาจบังคับ ด้านอำนาจตามกฎหมายและด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ เป็นอำนาจที่อยู่ในอันดับสุดท้าย และแรงจูงในการปฏิบัติงานของครู โดย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นแรงจูงใจที่อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา คือ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์และแรงจูงใจใฝ่อำนาจ ผลการศึกษาวามสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง (.540) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เป็นรายด้าน พบว่า อำนาจการให้รางวัล (X1) อำนาจบังคับ (X2) อำนาจตามกฎหมาย (X3) และ มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง อำนาจอ้างอิง (X4) และอำนาจความเชี่ยวชาญ (X5) มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
Abstract
The objectives of the study were 1) to study the use of power of school administrators of Surasakmontree School 2) to study the motivation for the performance of teachers of Surasakmontree School 3) to study the relationship of executive power and motivation in performance of teachers of Surasakmontree School. The sample group in the study was Surasakmontree School teachers. The Secondary Educational Service Area Office, Bangkok, District 2, both the 8 learning subjects and the learner development activity group of 97 people, the tools used in the study were questionnaires, the statistics used in data analysis, namely mean and standard deviation, and data analysis of the relationship between executive power and motivation for performance of teachers at Surasakmontree School by finding the Pearson correlation coefficient (Pearson’ s product moment correlation coefficient)
The results of the study showed that
The exercise of executive power with reference power is the highest level, followed by reward power, power legal authority and expertise was the last power in the rankings. And teachers' performance motivation, with achievement motivation at the highest level, followed by relationship motivation. And motivation for power. The results of the study on the relationship between executive power and teacher performance motivation in Surasakmontree School under the Office of the Secondary Educational Service Area 2, Overall, there was a positive correlation. At the .001 level, it was found that reward power (X1), compulsory power (X2), statutory power (X3), and statistical significance of. Motivation At a moderate level, the reference power (X4) and proficiency power (X5) were associated with relatively low levels of motivation to work
คำสำคัญ
ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหาร, แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูKeyword
Administrator’ use of Power, Techer work motivation Secondaryกำลังออนไลน์: 75
วันนี้: 1,986
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,185
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093