...
...
เผยแพร่: 5 ต.ค. 2565
หน้า: 122-131
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 411
Download: 216
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
The Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Student Affairs in Schools Under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
พุฒิพงษ์ ศิลาแยง, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
Author
Phuttiphong Silayaeng, Yaovalak Sutacort, Sikan Pienthunyakorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนกับประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานกิจการนักเรียน และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนที่ต่างกัน ศึกษาอำนาจพยากรณ์และแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานกิจการนักเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำนวน 354 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 113 คน หัวหน้างานกิจการนักเรียน จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 196 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยเลือกโรงเรียนทุกโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.42-0.92 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.57 - 0.93 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

 ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน และประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้านบุคลากร และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านงบประมาณ

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน ประกอบด้วย ด้านบุคลากร โดยจัดอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกบุลากรที่มีความเหมาะสมกับงานกิจการนักเรียน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยผู้บริหารปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ด้านกระบวนการบริหารจัดการ โดยมีระบบการบริหารที่ชัดเจน สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณโดยจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ จัดทำโครงการที่ครอบคลุมขอบข่ายภารกิจของงานกิจการนักเรียน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพัฒนานวัตกรรมระบบสารสนเทศงานกิจการนักเรียน สนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Abstract

The purposes of this research were: to investigate, compare, and identify the relationship between school administrative factors and the effectiveness of student affairs in schools under Sakon Nakhon Secondary Education Service Area Office, as perceived by school administrators, heads of student affairs, and teachers classified by positions, work experience, and school sizes, to investigate the predictive power and to establish guidelines for developing school administrative factors affecting the effectiveness of student affairs in schools under Sakon Nakhon Secondary Education Service Area Office. The samples consisted of school administrators, heads of student affairs, and teachers in schools under Sakon Nakhon Secondary Education Service Area Office, yielding a total of 354 participants, including 113 school administrators, 45 heads of student affairs, and 196 teachers. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan’s table. Stratified random sampling was used to select the sample group from all schools as a random unit. The tools for data collection were two sets of 5- rating scale questionnaires consisting of school administrative factors with the discriminative power ranging from 0.42 to 0.92 and the reliability of 0.97, and the effectiveness of student affairs with the discriminative power ranging from 0.57 to 0.93 and the reliability of 0.97. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s Product–Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The school administrative factors were overall at a high level.

2. The effectiveness of student affairs in schools was overall at a high level.

3. The school administrative factors as perceived by participants classified by positions and work experience in overall were different at the .01 level of significance, whereas in terms of school sizes, overall, there were no differences.

4. The effectiveness of student affairs as perceived by participants classified by positions and work experience in overall were different at the .01 level of significance, whereas in terms of school sizes, overall, there were no differences.

5. The school administrative factors and the effectiveness of student affairs were positively correlated at a high level with the .01 level of significance.

6. The school administrative factors could predict the effectiveness of student affairs in schools at the .01 level of significance, covering four aspects, namely management process, information technology, personnel, and leadership of administrators The only aspect, namely budget, achieved at the .01 level of significance.

7. The guidelines for developing school administrative factors affecting the effectiveness of student affairs in schools consisted of: Personnel. Administrators should provide trainings for relevant personnel and select qualified personnel to perform student affairs duties; Leadership of Administrators. Administrators should be good role models and continuously engage in personal development; Management Process. Administrators should have a clear-defined management system, support and facilitate administrative management; Budget. Administrators should allocate sufficient budget and create projects that covered the mission scope of student affairs; and Information Technology. Administrators should develop innovative information systems for student affairs and support resources for operating information technology

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลงานกิจการนักเรียน

Keyword

Administrative Factors, Effectiveness of Student Affairs

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093