...
...
เผยแพร่: 5 ต.ค. 2565
หน้า: 102-113
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 389
Download: 186
Download PDF
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
The Instructional Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
อภิชัย คำบุราณ, สุรัตน์ ดวงชาทม, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
Author
Apichai Comburan, Surat Duangchatom, .Yaovalak Sutacort

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 323 คนจำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 82 คน และครูผู้สอน จำนวน 241 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของลเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) วิธีสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30-0.92 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25-0.89 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Multiple Regression Analysis) โดยใช้วิธีวิเคราะห์ (Stepwise)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 สัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.545) มีควาสสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ร้อยละ 34.10และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±0.31699

7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ด้าน ได้แก่

7.1 ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย ปรากฏผลดังนี้ 1) กำหนดเป้าหมายให้เป็นรูปธรรม และนำเป้าหมายแตกเป็นพันธกิจของโรงเรียน 2) ศึกษาสภาพบริบทของชุมชน สังคม นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ 3) ประชุมร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจของโรงเรียน 4) ประเมินวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

7.2 ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 1) ส่งเสริมให้ครูมีความชัดเจนในมาตรฐานความรู้ของเนื้อหาที่สอนส่งเสริมให้มีการประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 2) ส่งเสริมให้ครู รู้และเข้าใจหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา 3) ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของ ชุมชน สังคมและนโยบายของรัฐบาลและบูรณาการณ์ในการเรียนการสอน

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power, and established guidelines for developing instructional leadership of administrators affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample consisted of 82 school administrators and 241 teachers, yielding a total of 323 participants working under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s table and multi-stage random sampling. The research instrument included sets of 5-point rating scale questionnaires comprising administrators’ instructional leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools with the discriminative power ranging from 0.30 to 0.92, 0.25 to 0.89 and the reliability of 0.94, and 0.93, respectively. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis.

The findings revealed that:

1. The instructional leadership of administrators and the effectiveness of academic affairs administration in schools as perceived by participants were overall at a high level.

2. The effectiveness of academic affairs administration in schools as perceived by participants was overall at a high level.

3. The overall instructional leadership of administrators as perceived by participants classified by positions showed no differences. Overall, the instructional leadership of administrators was different at the .05 level of significance in terms of work experience and school sizes.

4. The overall effectiveness of academic affairs administration in schools as classified by participants’ positions and school sizes, was different at the .01 level of significance. Overall, there was different at the .05 level of significance in terms of work experience.

5. The instructional leadership of administrators and the effectiveness of academic affairs administration was positively correlated at the moderate level at the .01 level of significance (r=0.545).

6. The overall instructional leadership of administrators consisting of curriculum development and instructional management, and setting visions, mission and goals, could predict the effectiveness of academic affairs administration at the .01 level of significance with the predictive power of 34.10 percent and the standard error of estimation of ±0.31699.

7. The instructional leadership of administrators affecting the effectiveness of academic affairs administration comprised two aspects needing improvement:

7.1 Creating Visions, Mission and Goals consisting of: 1) formulating concrete goals and differentiating goals into school missions; 2) examining the contexts of community, society, and government policies on education to formulate school visions; 3) holding stakeholders’ meetings on school education management to jointly define school visions, goals, and missions, and 4) assessing visions, goals and missions for further improvement and development;

7.2 Curriculum Development and Instructional Management consisting of: 1) promoting teachers’ knowledge on the standards of the content taught, curriculum assessment and instructional management; 2) promoting teachers’ knowledge and understanding of the core curriculum and school curriculums; 3) Improving the curriculums in accordance with the contexts of the community, society and government policies, and integrating the curriculums in teaching and learning process

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Instructional Leadership, Effectiveness of Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093