...
...
เผยแพร่: 5 ต.ค. 2565
หน้า: 91-101
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 968
Download: 319
Download PDF
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Administrators’ Creative Leadership Affecting School Effectiveness under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
พีระภัทร พิมพ์คำ, สุรัตน์ ดวงชาทม, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
Author
Peerapat Pimkham, Surat Duangchatom, Yaovalak Sutacort

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การในการทำงาน และ ขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 323 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – stage Random Sampling) (บุญชม ศรีสะอาด, 2560, หน้า 49) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 82 คน และครูผู้สอนจำนวน 241 คน จากโรงเรียนจำนวน 181 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.50 – 0.84 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และด้านที่ 2 ประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.50 – 0.95 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบ t-testชนิด Independent samples และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียนต่างกัน พบว่า สถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียนโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

4. ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียนต่างกัน พบว่า สถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ส่วนประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .01

5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร กับประสิทธิผลของโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การคิดวิเคราะห์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน การทำงานเป็นทีมกับความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียนการคิดวิเคราะห์กับความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.68, 0.67 และ 0.66 ตามลำดับ

6. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารมีจำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการมีวิสัยทัศน์

7. การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนไว้ 4 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านการคิดวิเคราะห์ ผู้บริหารควรมีความสามารถในการ ค้นคว้า พิจารณา ไตร่ตรองตามหลักวิชาการ ด้านการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้บริหารควรมีทักษะการตัดสินใจที่รอบคอบ และมีความสามารถในการบูรณาการที่หลากหลาย  ด้านการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารควรมีบทบาทในการประสานงาน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรในระยะยาว และด้านการมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารควรกระตุ้นให้ครูมีแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนให้ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี่ส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษา

Abstract

This research aimed to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines to develop creative leadership of administrators affecting school effectiveness under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by school administrators and teachers classified by positions, work experience and school sizes. The sample consisted of 82 school administrators and 241 teachers, yielding a total of 323 participants from 181 schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument was a set of 5-point rating scale questionnaires containing two aspects: Administrators’ Creative Leadership with the discriminative power ranging from 0.50 to 0.84 and the reliability of 0.95, and School Effectiveness with the discriminative power ranging from 0.50 to 0.95 and the reliability of 0.96. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product-moment correlation coefficient, One-Way ANOVA, Independent Samples t-test, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings revealed that:

1. The school administrators’ creative Leadership as perceived by participants was overall at a high level, whereas the school effectiveness was overall at a high level.

2. The school administrators’ creative Leadership as perceived by participants with different positions, work experience and school sizes, showed no differences at the .05 level of significance, whereas in terms of work experience and school sizes, there was different at the .01 level of significance.

3. The overall school effectiveness as perceived by participants with different positions, work experience and school sizes, was different at the .05 level of significance, whereas in term of work experience and school sizes, there was different at the .01 level of significance.

4. The relationship between creative leadership of school administrators and the school effectiveness was positive at the .01 level of significance. When considering each aspect, the top three aspects, namely analytical thinking and student achievement, teamwork and abilities to create school changes and development, and analytical thinking and abilities to create school changes and development, showed positive correlation at the .01 level of significance with the correlation coefficient of 0.68, 0.67 and 0.66, respectively. 

5. The four aspects of administrators’ creative leadership could predict the school effectiveness at the .01 level of significance, namely analytical thinking, creative thinking, teamwork, and visions.

 6. The proposed guidelines for developing administrators’ creative leadership affecting school effectiveness consisted of four aspects as follows: Analytical Thinking, administrators should have information searching ability, and reflective pondering ability in accordance with the academic principles; Creative Thinking, administrators should have the skills to make careful decision and the ability to use the integrated administration; Teamwork, administrators should have coordination roles, and foster knowledge sharing for long-term personnel development, and Visions, administrators should motivate and inspire teachers to perform tasks to achieve school visions. Administrators should also create supportive atmosphere for teachers’ and stakeholders’ participation in formulating directions of educational management

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ประสิทธิผลโรงเรียน

Keyword

Creative Leadership, School Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093