บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต ประชากรที่ศึกษา คือ ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 448 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 207 คน โดยแบ่งเป็น ผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 4 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 17 คน และครูจำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดสุพรรณบุรี ตามแนวคิดพลังสุขภาพจิต อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.331) และมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.611)
2. ขอบข่ายการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (PNImodified = 0.464) ซึ่งมีองค์ประกอบคุณลักษณะพลังสุขภาพจิตที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านศักยภาพในการแก้ปัญหา (PNImodified = 0.513) รองลงมาลำดับที่ 2 คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหา (PNImodified = 0.452) ซึ่งมีองค์ประกอบคุณลักษณะพลังสุขภาพจิตที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการปรับตัวและยืดหยุ่น (PNImodified = 0.489) และลำดับที่ 3 คือ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน (PNImodified = 0.447) ซึ่งมีองค์ประกอบคุณลักษณะพลังสุขภาพจิตที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือด้านศักยภาพในการแก้ปัญหา (PNImodified = 0.488)
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the current situation and the desirable conditions of developing students support system of large-sized secondary schools in Suphanburi province based on the concept of students’ resilience quotient 2) to study the priority needs for developing students support system of large-sized secondary schools in Suphanburi province based on the concept of students’ resilience quotient. The population of this research included 448 people who are directors, teachers, and personnel from 4 large-sized schools in Suphanburi province. The total of research informants is 207 including 4 school directors, 17 deputy directors and 186 teachers. The research instrument used in this study was 5-rating-scale questionnaire. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified).
The research results were found that:
1. The current situation and the desirable conditions for developing students support system of large-sized secondary schools in Suphanburi province based on the concept of students’ resilience quotient were at the medium level (Mean = 3.331) and the highest level (Mean = 4.611) respectively.
2. The first priority needed for developing students support system was the studying individual students (PNImodified = 0.464). Also, the highest needed component of resilience quotient is problem-solving ability (PNImodified = 0.513). The second priority needed was the prevention and problems solving (PNImodified = 0.452). Also, the highest needed component of resilience quotient is adaptability and flexibility (PNImodified = 0.489). The third priority needed was supporting for further progress (PNImodified = 0.447). Also, the highest needed component of resilience quotient is problem-solving ability (PNImodified = 0.488)
คำสำคัญ
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, พลังสุขภาพจิต, โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษKeyword
Students support system, Resilience Quotient, Large-sized secondary schoolกำลังออนไลน์: 82
วันนี้: 1,874
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,073
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093