บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 102 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie และ Morgan แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .465 - .871 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .987 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์ F – test แบบ One-Way ANOVA ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหาร งานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่มีต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ที่สำคัญมีดังนี้ สถานศึกษาควรส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาควรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันประชุมวางแผน ร่วมกันคิด พิจารณา วิเคราะห์ สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา ควรมีการออกติดตามอย่างจริงจัง รวมไปถึงการสร้างเครื่องมือการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้มีความคลอบคลุมตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาทุกระดับและทุกตัวบ่งชี้ โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลายมีความเหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของสถานศึกษาที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
This research purposed to 1) study the implementation of Internal Quality Assurance (IQA) in schools based on the opinions of the school administrators, the heads of the academic affairs office, and teachers who in charge of IQA in schools under the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Area (CPM SESA), 2) compare the opinions of the school administrators, the heads of the academic affairs office, and the teachers who in charge of IQA in schools under CPM SESA, and 3) study the recommendations for developing the implementation of IQA in schools under CPM SESA. The samples were 102 school administrators, heads of academic affairs office and teachers, who in charge of IQA in schools under CPM SESA in the academic year 2020. The sample size obtained by Krejcie and Morgan Table then employed stratified random sampling based on school size and manipulated simple random sampling by drawing lots. The instruments were a set of 5-rating scale questionnaires with the discrimination ranged from .465-.871 and the reliability of the whole questionnaire was .987, and a structured interview. Statistics used for analyzing the data were frequency, mean, standard deviation, the hypothesis tested using F-test (One-way ANOVA). Qualitative data used content analysis methods.
The results were as follows:
1. The opinions of the school administrators, the heads of the academic affairs office, and the teachers who in charge of IQA in schools towards the implementation of IQA under CPM SESA overall were at a high level.
2. The school administrators, the heads of academic affairs office, and the teachers who in charge of IQA in schools had the opinions overall and each aspect not different towards the implementation of internal quality insurance in schools under CPM SESA.
3. The recommendations for developing the implementation on IQA under CPM SESA, the crucial parts are schools should promote their personnel the knowledge of IQA in schools; schools should provide the meeting with stakeholders to brainstorm, consider and analyze the problems and needs of the schools; there should be a strict follow-up, as well as creating IQA tools that are covered the educational standards of all levels and indicators, using a variety of methods and tools that suitable for students to reach the schools’ goal effect
คำสำคัญ
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิKeyword
Internal Quality Assurance in schools, the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Areaกำลังออนไลน์: 79
วันนี้: 1,941
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,140
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093