บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารและศึกษาประสิทธิผลโรงเรียน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน 3) ค้นหาสมรรถนะผู้บริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผล และ 4)แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ บุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ เป็นแบบสอบถามข้อมูลการรับรู้เกี่ยวกับสมรรถนะผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .310 ถึง .788 และแบบสอบถามข้อมูลการรับรู้เกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .432 ถึง .691 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ใช้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะผู้บริหาร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
2. สมรรถนะผู้บริหารและประสิทธิผลโรงเรียน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก และมีความสัมพันธ์กันทางบวก (rxy= .916) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .631 ถึง .936 และมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน
3. สมรรถนะผู้บริหาร จำนวน 5 ด้าน ที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลโรงเรียน ได้แก่ ด้านการสื่อสารและการจูงใจ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการบริการที่ดี สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมได้ร้อยละ 84.50 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±0.20144 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y = 0.279 + 0.268X6 + 0.215X4 + 0.209X8 + 0.124X1 + 0.119X2 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z = 0.296ZX6 + 0.255ZX4 + 0.222ZX8 + 0.124ZX1 + 0.124ZX2
4. แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลโรงเรียน มี 5 ด้าน ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การทำงานเป็นทีม การสื่อสารและการจูงใจ และการมีวิสัยทัศน์ เป็นแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และทำให้เกิดผลสำเร็จที่สูงขึ้น
Abstract
The purposes of this research were to: 1) examine the level of administrators’ competencies and school effectiveness, 2) analyze the relationship between administrators’ competencies and school effectiveness, 3) identify administrators’ competencies that were good predictors of school effectiveness, and 4) establish guidelines for developing administrators’ competencies that were good predictors of school effectiveness. The sample group consisted of 152 administrators and 221 teachers working under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1, in the academic year 2021, yielding a total of 373 participants. The instruments for data collection comprised a set of 5 level-rating scale questionnaires on perceived administrators’ competencies with the predictive power from .310 to .788, and a set of 5 level-rating scale questionnaires on perceived school effectiveness with the predictive power from .432 to .691. The reliability for both sets of questionnaires was .974. The in-depth interview forms were also administered. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The results were as follows:
1. Administrators’ competencies as a whole and in each aspect were at a high level, whereas school effectiveness as a whole and in each aspect was also at a high level.
2. Administrators’ competencies and school effectiveness as a whole had a positive correlation (rxy = .916) at the .01 level of significance. When considering in each aspect, administrators’ competencies and school effectiveness had the correlation coefficient ranging from .631 to .936 at the .01 level of significance in all aspects.
3. Five aspects of administrators’ competencies as a whole were good predictors and jointly predicted school effectiveness, namely communication and motivation (X6), teamwork (X4), vision (X8), and achievement oriented (X1), and good services (X2), amounting for 84.50 percent with the standard error of the estimate of ±0.20144.
The predictive equation could be written in terms of raw and standardized scores as follows: Y = 0.279 + 0.268X6 + 0.215X4 + 0.209X8 + 0.124X1 + 0.119X2
Z = 0.296ZX6 + 0.255ZX4 + 0.222ZX8 + 0.124ZX1 + 0.124ZX2
4. The proposed guidelines for developing administrators’ competencies that were good predictors of school effectiveness were rated by experts at the highest level, including: 1) Achievement Oriented, administrators should have knowledge and understanding in planning performance; 2) Good Services, administrators should demonstrated intentions and willingness to support provided services; 3) Teamwork, administrators should participate actively in planning process with others within schools; 4) Communication and Motivation, administrators should be able to influence teachers and school personnel to accept and agree in all situations; and 5) Vision, administrators should be leaders in creating visions
คำสำคัญ
สมรรถนะผู้บริหาร, ประสิทธิผลโรงเรียนKeyword
Administrators’ Competency, School Effectivenessกำลังออนไลน์: 86
วันนี้: 2,013
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,212
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093