...
...
เผยแพร่: 5 ต.ค. 2565
หน้า: 20-30
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 379
Download: 188
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
The Relationship between Administrators’ Transformational Leadership and Work Performance Based on the Teacher Professional Standards in Schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
กชพร ช่างพันธ์, ธวัชชัย ไพใหล, วรกัญญาพิไล แกระหัน
Author
Kochapohn Changpan, Tawatchai Pailai, Worakanyapilai Kaerahan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 73 คน และครูผู้สอนจำนวน 266 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือแบบสอบถามระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.39–0.86 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32-0.95 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. เปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับสูง (rxy= 0.75)

6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ควรสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วม มองภาพความสำเร็จในอนาคต และตระหนักถึงเป้าหมายองค์กร

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, determine the relationship, and establish guidelines for developing administrators’ transformational leadership and work performance based on the Teacher Professional Standards in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office. The sample, obtained through multi-stage sampling, consisted of 73 school administrators and 266 teachers under Mukdahan Primary Educational Service Area Office in the academic year 2020, yielding a total of 339 participants. The sample size was determined by using a Krejcie and Morgan’s table. The instruments for data collection were two sets of 5-level rating scale questionnaires: a set of questionnaires examining a level of administrators’ transformational leadership with the discriminative power ranging from 0.39 to 0.86, and the reliability of 0.97, and a set of questionnaires examining work performance with the discriminative power ranging from 0.32 to 0.85, and the reliability of 0.95. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, and Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient.

The findings were as follows:

1. Transformational leadership of school administrators under Mukdahan Primary Educational Service Area Office was overall at the highest level.

2. Work performance based on the Teacher Professional Standards in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office was overall at a high level.

3. School administrators’ transformational leadership under Mukdahan Primary Educational Service Area Office, as perceived by participants with different positions and work experience, in overall and each aspect was different at the .05 level of significance, whereas in terms of school sizes, there was not different in overall. When considering each aspect, there was different at the .05 level of significance.

4. Work performance based on the Teacher Professional Standards as perceived by participants with different positions, school sizes, and work experience showed no differences in overall and each aspect.

5. School administrators’ transformational leadership was correlated positively with work performance based on the Teacher Professional Standards, were overall at a high level (rxy=0.75).

6. The proposed guideline for developing transformational leadership of school administrators under Mukdahan Primary Educational Service Area Office consisted of one aspect, i.e., Vision, which indicated that school administrators should encourage participation, visualize future success, and be aware of organizations’ goals

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร, การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน

Keyword

Administrators’ Transformational Leadership, Work Performance Based on the Teacher Professional Standards

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093