บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานบุคคล 2) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยใช้กรอบการบริหารงานบุคคลตามแนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาและสถานศึกษา ในกฎกระทรวงเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ด้านการบริหารงานบุคคล กระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 8 ด้าน 45 ข้อ คำถามทุกข้อต้องตอบ 2 สภาพคือสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็น และสาเหตุการแก้ไขในแต่ละมาตรฐานทั้ง 8 ด้าน ตรวจสอบความเที่ยงทรงโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์จากผู้เชี่ยวชาญ (IOC) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษา พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารบุคคลของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 อยู่ในระดับมาก
2. ความต้องการจำเป็นของการบริหารบุคคลของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 พบว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ด้านคือ ลำดับ 1 คือ ด้านวินัย การรักษาวินัย การลงโทษ การอุทธรณ์และการออกจากราชการ ลำดับ 2 คือ ด้านการเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลำดับ 3 คือ ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนเงินเดือนและการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนลำดับสุดท้ายคือ ด้านการลาทุกประเภท
3. แนวทางการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ที่สำคัญ 3 อันดับแรกเป็นดังนี้ 1) ด้านการวางแผนอัตรากําลัง การกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ก่อนจัดทำอัตรากำลังให้เป็นปัจจุบัน ควรมีการจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา เพื่อพิจารณาอัตรากำลังที่ขาดแคลนจริง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการจริงของสถานศึกษา ควรจัดกำลังเพิ่มครูให้ตรงเอกที่สอน ควรมีการสำรวจความต้องการของโรงเรียน 2) ด้านการดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนเงินเดือนและการประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรนำผลงาน หรือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนมาเป็นตัววัดด้วยส่วนหนึ่ง และไม่ควรพิจารณาจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ประเมินตามจริงและโปร่งใสชัดเจนไม่เป็นที่ครหา 3) ด้านวินัย การรักษาวินัย การลงโทษ การอุทธรณ์และการ ออกจากราชการ ควรมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน ในส่วนของการลงโทษ ที่อยู่กับปัจจัยการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง การลงโทษมีหลายวิธีควรเริ่มจากการแก้ไขปัญหาก่อนการลงโทษ การกระทำความผิดทางวินัยทุกประเภท ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยภายในโรงเรียนก่อน เพื่อเป็นการสืบสวนให้ได้ซึ่งข้อเท็จจริง แล้วค่อยพิจารณาความผิดให้เป็นไปตามหลักการ สืบหาข้อเท็จจริงและตัดสินตามโทษ
Abstract
The objectives of this study were: 1) to study the current and desirable conditions of personnel administration, 2) to study the needs for personnel administration, and 3) to study guidelines for personnel administration of schools under Secondary Educational Service Area Office 25. The sample group used in the study consisted of administrators and teachers with the total number of 400 people. The study tool was a questionnaire developed by using the framework for human resource management in accordance with the decentralization of educational and school administration and management in the Ministerial Regulation on the Prescribing of Criteria and Methods for Decentralization of Educational Administration and Management on personnel management, Ministry of Education. The tools used to collect data are a questionnaire to collect information from school administrators, the leaders of teachers and teachers. The research instrument was a 5-level rating scale with 8 sides 45 sections. All questions must be answer with two conditions: The current situation and the desirable conditions and the reason of correction in each of the 8 standards. Examine validity by questionnaire with reliability with purpose from experts (IOC). The statistics used for data analysis comprised of mean and standard deviation.
The results of the study showed that:
1. The current situation and the desirable conditions of personnel administration of schools under Secondary Educational Service Area Office 25 was rated at a high level.
2. Needs for personnel administration of schools under Secondary Educational Service Area Office 25 were found that there were 3 aspects, namely the first one was discipline, punishment, appeals and retirement from government service, the second one was relocation of government teachers and educational personnel, the third one was the implementing on salary increment promotion and performance evaluation, the last one was All types of leave.
3. The three most important guidelines for personnel management were as follows: 1) On manpower planning, positioning, recruitment and appointment, before updating manpower, there should be a meeting of the school administration committee to determine the real shortage of power to comply with the actual needs of the schools, there should be increase of teachers to teach according to their major, the school's needs should be surveyed. 2) On implementing on salary increment promotion and performance evaluation, the student's performance or academic achievement should be considered and personal relationship should not be considered. 3) On discipline, penalties, appeals and retirement from government service, there should have clear guidelines for working, as for the punishment, it depends on the decision-making factors of administrators and stakeholders, there are many ways for punishment, starting with solving the problem before punishment, for all disciplinary offenses, disciplinary investigation committees should be established within the schools to investigate the facts and then consider the mistakes according to the principles, investigate the facts and judge according to the principles
คำสำคัญ
การบริหารงานบุคคลของโรงเรียน, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25Keyword
Personnel Management in Public School, The Secondary Education Service Area Office 25กำลังออนไลน์: 25
วันนี้: 1,202
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 64,207
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093