...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 294-302
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 525
Download: 188
Download PDF
ข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ
Recommendations for Developing a Dual Vocational Education Management of Vocational Colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges
ผู้แต่ง
อารีรัตน์ อารีวงษ์, สุรินทร์ ภูสิงห์
Author
Areerat Areewong, Surin Phusing

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัญหาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิตามความคิดเห็นของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่เกี่ยวข้องต่อปัญหาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามสถานภาพในการปฏิบัติหน้าที่ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2563 จาก 4 สถานศึกษา จำนวน 319 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง.423- .851 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .976 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t – test (Independent Samples) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า

1. ระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรในสถานประกอบการต่อการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดทำหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอนและฝึกอาชีพ และด้านการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรในสถานประกอบการที่มีต่อปัญหาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ที่สำคัญมีดังนี้ สถานศึกษาควรมีการแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างหลักสูตรอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และควรประชุมวางแผนเพื่อระดมความคิดเห็นในการดำเนินการจัดทำหลักสูตร ควรมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญผู้ชำนาญการด้านหลักสูตรทวิภาคีหรือสถานประกอบการมาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน ควรมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการ และควรมีการประสานงานกับสถานประกอบการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเพื่อให้มีการพัฒนาที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน

Abstract

This study aimed to 1) study the level of problems on the management of a dual vocational education of vocational colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges, 2) compare the personnel’s opinion towards the problems on the management of a dual vocational education of vocational colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges, and 3) study the recommendations for developing the management of a dual vocational education of vocational colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges. The samples were 226 personnel in the colleges and in the establishments relevant to a dual vocational education of public colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges in the academic year 2020 from 4 colleges. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan Table and then employed simple random sampling. The tools in this study were a set of 5-rating scale questionnaires with discrimination .423-.851, the reliability of the whole questionnaire was .944, and structured interview. Statistics used for analyzing the data consisted of frequency, mean, standard deviation, and One-way ANOVA was used to test the hypothesis. Qualitative data used content analysis methods.

The results revealed as follows:

1. The opinions of personnel in colleges and establishments towards the management of a dual vocational education of public colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges overall were at a moderate level. When considering each aspect, it was found that the highest mean was management. It was followed by curriculum developing, teaching, and learning in vocational training and measurement and evaluation, respectively.

2. Personnel in colleges and establishments had the opinions towards the management of a dual vocational education of public colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges were not different.

3. The recommendations for developing the management on a dual vocational education of public colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges have the crucial parts: there should be a clarification meeting to brainstorm opinions; planning for developing the curriculum; inviting specialists in a dual curriculum or establishments to educate the students; set criteria for evaluating the students’ internship in the workplace; cooperate with the establishments to exchange the information on the management of dual vocational education

คำสำคัญ

การจัดการศึกษา การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี

Keyword

Education Management, Dual Vocational Education Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093