...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 284-293
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1187
Download: 197
Download PDF
สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Competencies of school administrators affecting the effectiveness of schools Under the Office Of Nakhon Phanom Primary Education Service Area office 2
ผู้แต่ง
เกรียงไกร แสนสุข, สุรัตน์ ดวงชาทม, ชรินดา พิมพบุตร
Author
Kriangkrai Sansook, Surat Duangchatom, Charinda Pimpabut

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 321 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 66 คน ครูผู้สอน จำนวน 189 คนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นของสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนเท่ากับ 0.96 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.83-0.93 ค่าความเชื่อมั่นของประสิทธิผลของโรงเรียนเท่ากับ 0.94 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.83-0.87 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.80-0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ F-test (One-Way ANOVA), ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากและประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งพบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงานพบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งพบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงานพบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน

4. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลโรงเรียนโดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .762

5. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 7 ด้าน พบว่ามีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน ได้แก่ 1)ด้านการบริหารสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 64.50 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.28477

6. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 3 สมรรถนะ ได้แก่

6.1 สมรรถนะด้านการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารต้องพัฒนาตัวเองในด้านการบริหาร เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยศึกษาจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จในสายงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา นอกจากนั้นต้นสังกัดจัดอบรมสัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ

6.2 สมรรถนะด้านหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนา สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ กำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในด้านนี้อย่างสม่ำเสมอ

6.3 สมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพการศึกษา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้บริหารโรงเรียนเพิ่มพูนความรู้ทักษะ ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ติดตามและประเมินผลอย่าสม่ำเสมอ

Abstract

The purposes of this research were to study, compare, study the relationship, identify the predictive power and establish the guidelines for developing the competencies of school administrators affecting the effectiveness of schools under the Nakhon Phanom Primary Educational Service Area office 2. The sampling consisted of 321 cases of school administrators, teachers and the chairman of the basic educational commission of primary school under the Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 in 2020 academic year. Out of these, 66 cases were school administrators, 189 cases were teachers and 66 cases were the chairman of the basic educational commission. The tools used for data collection were a 5-scale questionnaire and overall structured interview form with reliability 0.98 and discrimination 0.80 - 0.96.  Out of these, the competencies of school administrators aspects had reliability 0.96 and discrimination 0.83 - 0.93 and the effectiveness of schools had reliability 0.94 and discrimination 0.83 - 0.87.  The statistics used for data analysis comprised of percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The overall of both competencies of school administrators and effectiveness of schools in accordance with opinions of school administrators, teachers and the chairman of the basic educational commission was at high level.

2. Competencies of school administrators in accordance with opinions of school administrators, teachers and the chairman of the basic educational commission categorized by positions, it was found that the overall was different statistical significance at level of .01 and categorized by school size and years’ experience, they were found that both overall was different statistical significance at level of .05.

 3. The effectiveness of schools in accordance with opinions of school administrators, teachers and the chairman of the basic educational commission categorized by positions, it was found that the overall was different statistical significance at level of .01 and categorized by school size and years’ experience, they were found that both overall was no difference.

4. The competencies of school administrators and the effectiveness of schools was found that it had a positive correlation with different statistical significance at level of .01 and coefficient of correlation at .762.

5. Three out of seven aspects of competencies of school administrators could predict the effectiveness of schools with different statistical significance at level of .01, Predictive power at 64.50 and the standard deviation of prediction equivalent to ±.28477.

6. Three aspects of the guideline for development competencies of school administrators affecting the effectiveness of schools were:

6.1 School administration aspect could developed themselves by  study administration theories, be a leader of change by study from success administrators, be a good model for colleagues and had seminars from best practice administrators.

6.2 Curriculum and teaching aspect could developed by being teamwork and do multi-way in evaluation and assessment, support education management. study from best practice schools and always do monitoring and evaluation.

6.3 Quality assurance aspect could developed by attend in driving the education quality assurance, arrange seminar for develop knowledge and skills of administrators, had seminars from best practice schools, be teamwork and always do monitoring and evaluation

คำสำคัญ

สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน, ประสิทธิผลของโรงเรียน

Keyword

Competency of The School Administrators, Effectiveness of The Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093