...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 274-283
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 403
Download: 155
Download PDF
สภาพปัญหาและประสิทธิผลการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Problems and Effectiveness of Student Affairs Administration in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ณัฐพล แสงงาม, เพ็ญผกา ปัญจนะ, ไชยา ภาวะบุตร
Author
Natthapon Saengngam, Penphaka Panjana, Chaiya Pawabutra

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและประสิทธิผลการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 2) เปรียบเทียบสภาพปัญหาและประสิทธิผลการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง เพศ ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการทำงาน 3) หาแนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 382 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 112 คน และครูผู้สอน 270 คน โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples และการทดสอบเอฟ (F-test) ชนิด One-WayANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาการบริหารกิจการนักเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและประสิทธิผลการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง

2. สภาพปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนและประสิทธิผลการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. แนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มี 4 งาน ประกอบด้วย 1) งานส่งเสริมสุขภาพอนามัย สถานศึกษาควรวางแผนที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค 2) งานส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย และวินัยนักเรียน สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และเข้าใจวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน และกิจกรรมสร้างเสริมวินัยนักเรียน 3) งานส่งเสริมกิจกรรมแนะแนว สถานศึกษาควรมีการส่งเสริมความสามารถตามความแตกต่างระหว่างบุคคลและ 4) งานสภานักเรียน สถานศึกษาควรส่งเสริม พัฒนา และสร้างความเข้มแข็ง องค์กรสภานักเรียน เด็ก เยาวชนในสถานศึกษา และควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน และกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine problems and the effectiveness of student affairs management in schools, as perceived by school administrators and teachers; 2) compare problems and the effectiveness of student affairs management in schools, as perceived by school administrators and teachers, classified by positions, gender, school sizes, and work experience; and 3) establish guidelines for developing student affairs management in schools. The sample group consisted of 382 participants, including 112 school administrators, and 270 teachers working in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2020. The sample was obtained through the sample size table of Krejcie and Morgan and the multi-stage random sampling. The instrument for data collection was a set of 5-point rating scale questionnaires. Statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation. Statistical hypothesis testing was calculated by using One-Way ANOVA, and Independent Samples t-test.

The findings were as follows:

1. The problems of student affairs management as perceived by school administrators and teachers as a whole and in each aspect was at a high level, whereas the effectiveness of student affairs management in schools was at a medium level.

2. The problems of student affairs management and the effectiveness of management in schools as perceived by school administrators and teachers, classified by positions as a whole were different at the .01 level of significance.

3. The guidelines for developing student affairs management in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 included four aspects: 1) School Health Promotion. Schools should have supportive plans to be more conductive to health promotion and disease prevention, 2) Democratic Values and Disciplines Promotion. Schools should organize activities to promote students’ learning and understanding on democratic values and disciplines, 3) Guidance Activities Promotion. Schools should support individual student differences and capabilities, and 4) Student Council. Schools should promote, develop, and strengthen collaboration among the Student, Children and Youth Council in schools. In addition, schools should appoint members of student council committee and ensure that the roles and responsibilities were clearly defined

คำสำคัญ

การบริหารกิจการนักเรียน, ประสิทธิผลการบริหารกิจการนักเรียน

Keyword

Student Affairs Management, Effectiveness of Student Affairs Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093