บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษของครูโรงเรียนโชคชัยหทัยราษฎร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประชากรครูที่ศึกษา จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษของครูโรงเรียนโชคชัยหทัยราษฎร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยภาพรวมสี่ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากลำดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. ด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม โดยครูใช้สำเนียงได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมและสังคมมีสมรรถนะในระดับปานกลาง
2. ด้านกลวิธีการใช้ โดยครูมีวิธีการในการรับ – ส่งสารเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มสนทนาหรือผู้รับสารเข้าใจความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะสื่อ มีสมรรถนะในระดับปานกลาง
3. ด้านการเชื่อมโยงโครงสร้างภาษากับการคิด โดยครูมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงข้อความต่าง ๆ สอดคล้องตรงตาม รูปแบบการใช้ภาษา มีสมรรถนะในระดับปานกลาง
4. ด้านภาษาศาสตร์ โดยครูมีเข้าความรู้ความเข้าใจความหมายของภาษาอังกฤษ มีสมรรถนะอยู่ในระดับปานกลาง
Abstract
The purpose of this study was to investigate English communication competencies of teachers at Chokchai Hathairaj School under the Private Education Commission. A population of 150 was teachers of this school. The tool used in this study was a questionnaire, constructed by the researcher. The data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, and levels of competencies
The results of this study showed that the overall English communication competencies of teachers at Chokchai Hathairaj School under the Private Education Commission was at the moderate level. All four competencies, overall ratings were at the moderate level each, were ranked from the top as:
1. socio-linguistic competency, from which the item of teachers had accent suitable to context, culture, and society, was ranked the highest;
2. strategic competency, from which the item of teachers had sending-receiving strategies which yielded better understanding as was aimed, was ranked the highest; 3) connection with language structure and thinking competency, from which the item of teacher had ability to link different messages compatible with language patterns, was ranked the highest; and 4) linguistic competency, from which the item of teachers understood meaning of the English language, was ranked the highest
คำสำคัญ
สมรรถนะครู, สมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษKeyword
Competency, English communication competencyกำลังออนไลน์: 79
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,597
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,796
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093