...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 243-253
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 467
Download: 183
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ระหว่างการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Relationship between the Information and Communication Technology Administration and Online Learning during the COVID-19 Pandemic of Schools under Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2
ผู้แต่ง
วรพล ดิลกทวีวัฒนา, สุชาดา นันทะไชย, มีชัย ออสุวรรณ
Author
Worapon Diloktaweewattana, Suchada Nanthachai, Meechai Orsuwan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของสถานศึกษา 2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ระหว่างการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ระหว่างการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หัวหน้างานการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ และครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายและทำการคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยแบ่งตามสัดส่วนของประชากร จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.961  ได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 364 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการองค์กร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานองค์กร

2. การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ระหว่างการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผู้สอน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านระบบการติดต่อสื่อสาร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านผู้เรียน

3. การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ระหว่างการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the information and communication technology administration of schools 2) to study online learning during the COVID-19 pandemic of schools 3) to study relationship between the information and communication technology administration and online learning during the COVID-19 pandemic of schools. The sample of 364 was proportionate simple randomly selected from school directors, ICT supervisors, online learning supervisors and the teachers of schools under secondary educational service area office Bangkok 2 in the 2020 academic calender year. The instrument used was a questionnaire with 0.961 reliability 364 completed questionnaire copies or 100.00 % were returned.  The statistical methods used in this research were percentage, mean, standard deviation and Pearson product moment correlation.

The research results showed as follows.

1. The overall information and communication technology administration was at the high level. The aspects were ranked at the top as human resources development, followed by that of organization administration, while that of organization infrastructure was at the bottom.

2. The overall online learning during the COVID-19 pandemic of schools was at the high level. The aspects were ranked at the top as instructor, followed by that of communication system, while that of learner was at the bottom.

3. The information and communication technology administration had positive relationship with online learning during the COVID-19 pandemic of schools with statistically significant level of 0.01

คำสำคัญ

การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, การจัดการเรียนรู้ออนไลน์, COVID-19

Keyword

Information and Communication Technology Administration, Online Learning, COVID-19

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093