บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .346-.983 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .990 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน F-test แบบ One-way ANOVA ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ที่สำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรแสดงถึงความเป็นผู้นำ ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีธรรมาภิบาล ส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร ควรมีการดำเนินการขับเคลื่อนองค์การสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด และควรส่งเสริมให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการและประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนในระดับชาติและนานาชาติ
Abstract
This research purposed to 1) study the level of strategic leadership of school administrators in world-class standard schools based on opinions of teachers under the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Area, 2) compare the opinions of teachers under the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Area towards strategic leadership of school administrators in world-class standard schools classified by work experiences, 3) study the recommendations for developing the strategic leadership of school administrators in world-class standard schools under the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Area. The samples were 260 teachers from world-class standard schools under the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Area in the academic year 2020. The sample size was determined by using Krejcie & Morgan Table and then employed simple random sampling. The tools in this study were a set of 5-rating scale questionnaires with discrimination .346-.983, the reliability of the whole questionnaire was .990, and structured interview. Statistics used for analyzing the data consisted of frequency, mean, standard deviation, and F-test (One-way ANOVA) was used to test the hypothesis. Qualitative data used content analysis methods.
The research results showed:
1. The level of the teachers’ opinions towards strategic leadership of the school administrators in world-class standard schools under the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Area overall was at the highest level.
2. The comparison of teachers’ opinions towards strategic leadership of the school administrators in world-class standard schools under the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Area classified by work experiences overall were significantly different at the level of .05.
3. The recommendations on strategic leadership for the school administrators in world-class standard schools under the Office of Chaiyaphum Secondary Educational Service Area the crucial parts are: The school administrator should demonstrate leadership, behave as a good role model, have good governance, provide morale for personnel, lead the organization up to the visions, and encourage teachers to share academic knowledge and experiences in teaching both the national and international levels
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหารสถานศึกษา, โรงเรียนมาตรฐานสากลKeyword
Strategic Leadership, School Administrators, World-class standard schoolsกำลังออนไลน์: 22
วันนี้: 165
เมื่อวานนี้: 1,360
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,481,450
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093