บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาภาครัฐในอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิและ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูของสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2563 จาก 5 สถานศึกษา จำนวน 123 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan แล้วทำการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .341- .901 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .979 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติ F-test แบบ One-way ANOVA ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า
1. ความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิแตกต่างกัน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาภาครัฐสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยภูมิ มีดังนี้ ควรมีการจัดกิจกรรม โครงการที่สนับสนุนให้มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและมีการติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ควรมีการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ครูได้แสดงศักยภาพของตนเองให้เต็มที่ ควรส่งเสริมสนับสนุนและยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะที่ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และควรมีการจัดอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรเกี่ยวกับสภาพสังคมปัจจุบันเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
Abstract
This study purposed to 1) study the level of the effectiveness of Public Vocational Colleges management under Chaiyaphum Vocational Colleges, 2) Compare the level of the effectiveness of public colleges’ management under Chaiyaphum Vocational Colleges towards teachers’ opinions classified by working experiences, and 3) study the recommendation for developing the effectiveness of public colleges’ management under Chaiyaphum Vocational Colleges. The samples were 123 teachers from 5 public colleges in the academic year 2020. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan Table and then employed simple random sampling. The tools in this study were a set of 5-rating scale questionnaires with discrimination 341-.901, the reliability of the whole questionnaire was .979, and structured interview. Statistics used for analyzing the data consisted of frequency, mean, standard deviation, and One-way ANOVA was used to test the hypothesis. Qualitative data used content analysis methods.
The results of the study were as follows:
1. The teachers’ opinions towards the effectiveness of public colleges’ management under Chaiyaphum Vocational Colleges were overall at a high level. When considering each aspect, the highest mean was teachers’ job satisfaction. It was followed by the ability to adjust to the environment from both internal and external effects and the ability to use the media and technology of teachers, respectively.
2. Teachers with different working experiences had different opinions towards the effectiveness of public colleges’ management under Chaiyaphum Vocational Colleges: the overall was statistically different at the level of .01
3. Suggestions for developing the effectiveness of public colleges under Chaiyaphum Vocational Colleges. The crucial parts are the colleges should be organized activities and programs that support the resources to facilitate students' use of modern technology in teaching and learning activities; and are regularly monitored, encouraging, and giving teachers the opportunity to demonstrate their full potential. It should promote, encourage, and honor the teacher as a high professional profession. There should be an environment conducive to the organization of learning activities. There should be a plan to use the resources appropriately. And there should be training and developing of teachers and personnel on the current social conditions to be up to date to the current changes.
คำสำคัญ
ประสิทธิผล, การบริหารสถานศึกษาภาครัฐKeyword
Effectiveness, Public Colleges’ Managementกำลังออนไลน์: 23
วันนี้: 182
เมื่อวานนี้: 1,360
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,481,467
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093