...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 207-215
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1149
Download: 165
Download PDF
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
The Innovative Leadership of School Administrators According to Teacher Opinions Under The Chaiyaphum Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง
เบญจมาศ ขวาไทย, สุรินทร์ ภูสิงห์
Author
Benjamat Khwathai, Surin Phusing

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 706 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan แล้วทำการสุ่มแบบกลุ่มตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .338-.946 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .989 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ F-test แบบ One-way ANOVA ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า

1. ระดับความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบุคลิกภาพ รองลงมา ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม ด้านทักษะการปฏิบัติงาน และด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรมตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่าโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ที่สำคัญคือ ผู้บริหารควรมีบุคลิกภาพที่ดี สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้พบเห็น ควรมีทักษะการปฏิบัติงานทั้งองค์ความรู้ที่ทันสมัย มีเทคนิควิธีการ กระบวนการใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษามีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ และควรสร้างบรรยากาศการทำงานที่ส่งเสริมให้บุคลากรร่วมสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา รวมไปถึงการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับสมาชิกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์การ

Abstract

This study purposes to 1) study the level of innovative leadership of school administrators towards the opinions of teachers under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2, 2) compare the opinions of teachers towards innovative leadership of school administrators towards the opinions of teachers under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2, and 3) study the recommendations for developing innovative leadership of the school administrators towards the opinions of teachers under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2. The samples were 706 teachers in the first semester of the academic year 2020 under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan Table and employed cluster random sampling based on the school size. The tools in this study were a set of 5-rating scales with the discrimination between .338-.946, the reliability of the whole questionnaires was .989, and structured interview. Statistics used for analyzing the data consisted of frequency, mean, standard deviation, F-test (One-way ANOVA). Qualitative data used content analysis methods.

The results of the study showed:

1. The level of the teacher opinions towards innovative leadership of school administrators under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2 overall was at a high level. When considering each aspect, it was found that the highest mean was personality. It was followed by teamwork and participatory, working skills, and creating an innovative organizational atmosphere, respectively.

2. The comparison of the teacher’s opinions towards innovative leadership of school administrators towards the opinions of teachers under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2 classified by school size was found that the overall had differently significant at the level of .05.

3. The recommendations for developing innovative leadership of school administrators under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 2 shows the crucial parts are the school administrators should:  have a good personality, be able to build credibility, operational skills, and modern knowledge;  be able to apply new techniques, method, processes in developing schools; should have a meeting to exchange views of the participants in setting the vision; create a working environment that encourages personnel to participate in creating innovation in schools including building morale and morale for members to increase the efficiency of the organization.5. Executives should create a working environment that encourages personnel to participate in creating innovation in educational institutions.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำ, ผู้นำเชิงนวัตกรรม

Keyword

Leadership, Innovative Leadership

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093