บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาระดับปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารงานบุคคลและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 351 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 45 คน หัวหน้างานบริหารงานบุคคล จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.977 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.418 – 0.855 และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.972 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.552 – 0.795 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน พบว่าโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียน กับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน โดยรวมพบว่ามีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ระดับปานกลาง (rxtyt=.572)
6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาไว้ดังนี้
6.1 ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การมีแนวทางการพัฒนา 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการมุ่งผลสำเร็จของงานโดยโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายในการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสำเร็จของการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยโรงเรียนมีระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้บุคลากรเข้าใจตรงกัน
6.2 ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมีแนวทางการพัฒนา 1 ด้าน คือด้านการพัฒนาบุคลากร โดยโรงเรียนมีการกำหนดนโยบายในการปฏิบัติงานการวางแผนอัตรากำลังไว้อย่างชัดเจน และเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมโดยเน้นที่ผลผลิตและผลลัพธ์
Abstract
The purposes of this study were: to investigate, compare, and find the relationship between the organizational culture factors and the effectiveness of personnel administration in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon according to the opinion of the school administrator, the head of personnel administration, and the teacher as classified by position, school size, and different operational experience, to investigate the development guideline of the organizational culture factors and the effectiveness of personnel administration in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. The sample consisted of school administrators, heads of personnel administration, and teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, the academic year 2020, there were 351 people, 45 school administrators, 45 heads of personnel administration, and 261 teachers that the sample size was determined according to Stratified Random Sampling. The tools used for data collection were the organizational culture factors in school questionnaire, the discrimination was between 0.418–0.855 and the reliability was 0.977 and the effectiveness of personnel administration in school questionnaire, the discrimination was between 0.552–0.795 and the reliability was 0.972. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation, F-test, One way ANOVA, and Pearson Product – Moment Correlation Coefficient.
The results of the study were as follows:
1. The organizational culture factors in schools in schools were overall at a high level.
2. The effectiveness of personnel administration in schools were overall at a high level.
3. The organizational culture factors in schools according to the opinion of the school administrator, the head of personnel administration, and the teacher as classified by position, school size overall different statistically significant at .01 level but classified by operational experience was overall, there was no difference.
4. The effectiveness of personnel administration in schools according to the opinion of the school administrator, the head of personnel administration, and the teacher as classified by position overall different statistically significant at .01 level but classified by school size and operational experience was overall, there was no difference.
5. Overall the organizational culture factors in schools were positively correlated with overall the effectiveness of personnel administration in schools with a statistical significance at .01, at a moderate level (rxtyt=.572).
6. This study presented the development guidelines were as follow:
6.1 The organizational culture factors had the development guidelines 2 aspects, the result orientation as the school had clearly defined policies for the implementation of the results-oriented operation and the interpersonal relationship as the school had an effective communication system for the personnel to understand each other
6.2 The effectiveness of personnel administration in schools had the development guideline 1 aspect, the personnel development as the school had clearly defined policies for the workforce planning operations and concrete goals with an emphasis on productivity and results.
คำสำคัญ
วัฒนธรรมองค์การ, ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลKeyword
Organizational Culture Factors, Effectiveness of Personnel Administrationกำลังออนไลน์: 81
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,554
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,753
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093