...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 185-195
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 776
Download: 246
Download PDF
ปัจจัยความเครียดที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Stress Factors Affecting of Teachers’ Performance in Schools Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
สุรเชษฐ สุวรรณมาลี, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, เทพรังสรรค์ จันทรังษี
Author
Surachet Suwanmalee, Sikan Pienthunyakorn, Theprangsan Jantharangsee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุงหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางแก้ไขปัจจัยความเครียดของครูในโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศของครู ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 340 คน ประกอบด้วย ครูเพศชายจำนวน 169 คน และครูเพศหญิงจำนวน 171 คน จากโรงเรียนจำนวน 89 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยความเครียดของครู มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.66 - 0.87 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และด้านที่ 2 การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.52 - 058 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยความเครียดของครู โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

3. การเปรียบเทียบปัจจัยความเครียดของครู ตามความคิดเห็นของครู แบ่งออกเป็นดังนี้

3.1 ปัจจัยความเครียดของครู จำแนกตามเพศของครู โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.2 ปัจจัยความเครียดของครู จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3.3 ปัจจัยความเครียดของครู จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน แบ่งออกเป็นดังนี้

4.1 การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน จำแนกตามเพศของครู โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.2 การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.3 การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน

5. การใช้ปัจจัยความเครียดของครูในโรงเรียนโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (Rxy = 0.129)

6. ปัจจัยความเครียดที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน โดยรวมมี 2 ด้าน คือ ด้านงานที่ได้รับมอบหมาย และด้านสภาพแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัจจัยความเครียดของครู ในโรงเรียนไว้มี 2 ด้าน ดังนี้คือ ด้านงานที่ได้รับมอบหมาย และด้านสภาพแวดล้อม

Abstract

The purposed of this research were study, compare, relationship, the power of prophecy and correct the stress factors of teacher in school that affect the performance of teacher administrators’ effectiveness under Sakon Nakhon primary service area office 1. According to the teacher opinion, classified by gender, school size and experience. The sample group use in this research being a teacher in school Sakon Nakhon primary service area office 1. The persons of this research are 340 people including male teacher 169 and female teacher 171 persons from 89 schools. The instruments used to collect data are a scale questionnaire 5 levels which is divided 2 sides. Firstly, teacher stress factor has a classification power between 0.66 – 0.87 and the confidence value was 0.92 and the second aspect teacher performance in schools has a classification power between 0.52 – 058 and the confidence value was 0.72. The statistics used in the data analysis were including percentage, average, standard deviation and Pearson’s simple correlation. Analyzes of variance, independent samples t-test and stepwise multiple regression analyses.

The findings revealed that:

1. Teacher stress factor under the office of Sakon Nakhon primary educational service area 1, according to the opinions of teachers moderate.

2. Teacher performance in schools under the office of Sakon Nakhon primary educational service area 1, according to the opinions of teachers at a high level.

3. Teacher stress factor comparison according to the teacher opinion classified by teacher’s gender, school size, and experience, divided as follows:

3.1 Teacher stress factor comparison according to the teacher opinion Classified by teacher gender. Overall, the difference was statistically significant at the .01 level.

3.2 Teacher stress factor comparison according to the teacher’s opinion classified by school size.  The overall difference was statistically significant at the .05 level.

3.3 Teacher stress factor comparison according to the teacher’s opinion classified by operational experience. Overall, the difference was statistically significant at the .01 level.

4. Comparison of teacher performance in schools according to the teacher opinion classified by teacher gender, school size, and experience, divided as follows:

4.1 Comparison of teacher performance in schools according to the teacher opinion classified by teacher’s gender. Overall, the difference was statistically significant at the .01 level.

4.2 Comparison of teacher performance in schools according to the teacher opinion classified by school size. Overall, the difference was statistically significant at the .01 level.

4.3 Comparison of teacher performance in schools according to the teacher opinion classified by operational experience Overall, there was no statistically significant difference. When considering each aspect, it was found that there was a statistically significant difference at the .05 level for one aspect, namely the relationship with parents and the community.

5. Stress factor was positively correlated with teacher performance, overall were at a low level (Rxy = 0.129).

6. Stress factors affecting teachers’ performance in schools including assigned work, and the environment statistically significant at the .01 level.

7. This research presents a method for correcting the stress factor of teachers. In the school, there are 2 aspects as follows: the task assigned and the environment

คำสำคัญ

ปัจจัยความเครียด, การปฏิบัติงานของครู

Keyword

Stress factors, Teachers’ performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093