บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร บรรยากาศองค์การของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนลักษณะการเปิดสอน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 332 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 75 คน และครูผู้สอน จำนวน 257 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38-0.81 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบสอบถามบรรยากาศองค์การของโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.31-0.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน โดยใช้วิธีวิเคราะห์ Stepwise
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. บรรยากาศองค์การของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ลักษณะการเปิดสอน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. บรรยากาศองค์การของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ลักษณะการเปิดสอน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า บรรยากาศองค์การของโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .505
6. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์บรรยากาศองค์การของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 1 ด้าน คือการมีจินตนาการ (X4) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ การมีความยืดหยุ่นและปรับตัว (X2)
7. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของโรงเรียน มี 2 ด้าน คือ การมีจินตนาการ โดยผู้บริหารโรงเรียนมีการวางแผนเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในการทำงานในอนาคต และผู้บริหารโรงเรียนแสดงออกถึง การมีจินตนาการในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่ส่งผลต่อโรงเรียนและนักเรียน การมีความยืดหยุ่นและปรับตัว โดยผู้บริหารโรงเรียนมีความสามารถในการปรับตัวตามสถานการณ์และบริบทที่เปลี่ยนแปลง และผู้บริหารโรงเรียนเปิดโอกาสและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะที่แตกต่างของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
Abstract
The purposes of this study were: to investigate and compare the creative leadership of school administrators and the organizational atmosphere in schools according to the opinion of the school administrator and the teacher as classified by position, school size, type of school (Primary School and Opportunity Expansion School), and operational experience, to investigate the relationship and find the predictive power of creative leadership of school administrators affecting the organizational atmosphere of schools and find the guidelines for developing creative leadership of school administrators affecting the organizational atmosphere of schools under Nakhon Phanom Primary Education Service Area Office 1. The sample consisted of school administrators and teachers of schools under Nakhon Phanom Primary Education Service Area Office 1, there were 332 people, 75 school administrators and 257 teachers. The tools used for data collection were 5-level rating scale questionnaires that consisted of creative leadership of school administrator questionnaire, the discrimination was between 0.38–0.81 and the reliability was 0.95 and organizational atmosphere in school questionnaire, the discrimination was between 0.31–0.80 and the reliability was 0.94. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, One way ANOVA, Pearson Product–Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression analysis.
The results of the study were as follows:
1. The creative leadership of school administrators was overall at a high level.
2. The organizational atmosphere in schools was overall at a high level.
3. The creative leadership of school administrators according to the opinion of the school administrator and the teacher as classified by position, type of school (Primary School and Opportunity Expansion School) and operational experience overall, there was no difference but classified by school size was overall different statistically significant at .05 level.
4. The organizational atmosphere in schools according to the opinion of the school administrator and the teacher as classified by position, type of school (Primary School and Opportunity Expansion School) and operational experience overall, there was no difference but classified by school size was overall different statistically significant at .05 level.
5. Overall creative leadership of school administrators was positively correlated with overall organizational atmosphere in schools at a moderate level, with a statistical significance at .01 level and a correlation coefficient was .505.
6. The creative leadership of school administrators that could predict organizational atmosphere in schools with a statistical significance at .01 level in 1 aspect was the imagination (X4) and with a statistical significance at .05 level in 1 aspect was the flexibility and the adaptation (X2)
7. The guidelines for the development of creative leadership of school administrators affecting the organizational atmosphere in schools had 2 aspects; the imagination as the school administrators planned to prevent problems at work in the future and school administrators expressed to having an imagination of events that might happen in the future that affected the school and students, the flexibility and adaptability as school administrators could adapt to changing situations and contexts and the school administrators provided opportunities and listened to different opinions and suggestions of teachers and related personnel.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ บรรยากาศองค์การKeyword
Creative Leadership, Organizational Atmosphereกำลังออนไลน์: 24
วันนี้: 945
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,342
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093