บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุงหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาความสัมพันธ์ ระหว่างระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนที่ต่างกันและเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 318 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 91 คน และครูผู้สอน จำนวน 227 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือแบบสอบถามระดับการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.61 - 0.91 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.62 – 0.90 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. การเปรียบเทียบการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน แบ่งออกเป็นดังนี้
3.1 การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกันพบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน
4. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน แบ่งออกเป็นดังนี้
4.1 ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน
4.3 ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกันพบว่า โดยรวมมีความไม่แตกต่างกัน
5. การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Rxy = 0.79)
6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนไว้มี 4 ด้าน ดังนี้คือ ด้านอำนาจอ้างอิง ผู้บริหารแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ครู ด้านอำนาจความเชี่ยวชาญ ผู้บริหารมีความสนใจติดตามข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ ด้านอำนาจข้อมูลข่าวสาร ผู้บริหารมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดทำโครงการใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน และด้านอำนาจตามกฎหมาย ผู้บริหารใช้อำนาจตามสิทธิและหน้าที่ภายในขอบเขตที่มี
Abstract
The purposes of this research were to study: 1) to compare and find a correlation between the level of uses of power of school administrators and the effectiveness of school administration by the opinions of school administrators and teachers classified by operational position, experience, and different school sizes, 2) to study the ways to improve the uses of the power of school administrators that are positively correlated with school administration effectiveness under Sakon Nakhon Primary Service Area Office 3. The samples in this study were school administrators and teachers under Sakon Nakhon Primary Service Area Office 3, in the academic year of 2020, classified by 91 school directors and 227 teachers. The sample size was determined by the tables of Krejcie and Morgan, and the sample was selected by a multistage randomization method. The data collection used a 5-level Likert Scale, the questionnaire on the level of school administrators’ power was done for discrimination power values ranged between .61 and .91 and reliability coefficient was .98, and the questionnaire on school’s administration effectiveness was done for discriminant power values ranged between 0.62 – 0.90 and the reliability coefficient was 0.97. Statistics used to analyze data included percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA and Pearson’s simple correlation coefficient.
The findings were as follow:
1. The overall of the uses of power of the school administrator was at the highest level.
2. The overall effectiveness of school administration was at a high level.
3. The comparison of the uses of power of school administrators according to the opinions of school administrators and teachers were divided as follows:
3.1 The overall of the uses of powers of school administrators with different operational positions as a whole was found significantly different at the .01 level.
3.2 The overall of the uses of power of school administrators with different experiences as a whole was found significantly different at the .05 level.
3.3 The overall of the uses of power of school administrators with different school sizes was not different. Considering each aspect found that every aspect was not different.
4. The comparison of the effectiveness of school administration according to the opinions of school administrators and teachers were divided as follows:
4.1 The overall of the effectiveness of school administration with different operational positions as a whole was found significantly different at the .01 level.
4.2 The overall of the effectiveness of school administration with different experiences as a whole and each aspect were not different.
4.3 The overall of the effectiveness of school administration with different school sizes as a whole is not different.
5. The overall of the uses of power of school administrators as a whole was positively correlated with the effectiveness of school management at a high level (Rxy = 0.79).
6. This research presented the guidelines for the development of the uses of power of school administrators in 4 aspects as follows: Reference power Executives dress politely. Be a good role model for teachers Expertise Executives are interested in following news from various media. information power Executives are creative in creating new projects. that are beneficial to the agency and legal powers Executives exercise their rights and duties within their scope.
คำสำคัญ
การใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียน, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนKeyword
Power Usage, School Administration Effectivenessกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 376
เมื่อวานนี้: 1,360
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,481,661
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093