บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 2) พัฒนาแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน และครู จำนวน 331 คน รวมทั้งสิ้น 346 คน โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามโดยเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม 0.60 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน คือ 0.25 - 0.79 และค่าความเชื่อมั่นคือ 0.90 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ คือ 0.37 - 0.78 และค่าความเชื่อมั่นคือ 0.95 ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา โดยเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็นที่ปรับปรุง
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20) สภาพที่พึงประสงค์การจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.60) ความต้องการจำเป็นในการจัดการเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การกำหนดกลยุทธ์
2. แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีวิธีการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ 4 องค์ประกอบโดยมี 1) การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ มีวิธีปฏิบัติ 6 ขั้นตอน 2) การกำหนดกลยุทธ์ มีวิธีปฏิบัติ 8 ขั้นตอน 3) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติมีวิธีปฏิบัติ 12 ขั้นตอน 4) การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ มีวิธีปฏิบัติได้ 8 ขั้นตอน ผลการวิเคราะห์การประเมินแนวทางมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.42) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.57)
Abstract
The purposes of this study were: 1) to study the current condition, desirable condition and priority needs index of strategic management for educational institutions in Secondary Educational Service Area Office 32 2) to develop the strategic management guidelines for educational institutions in Secondary Educational Service Area Office 32. The samples were 15 school administrators and 331 teachers, totaling 346 people. Data was collected in two phases. In the first phase, to study the current condition, desirable condition and priority needs index of strategic management for educational institutions in Secondary Educational Service Area Office 32. Research instrument was a five-point rating scale questionnaire which was used to assess the current condition and desirable condition. The consistency index was 0.60 - 1.00, the discrimination of the current condition questionnaire was 0.25 - 0.79 and the reliability was 0.90, the desirable condition was 0.37 - 0.78, and the reliability was 0.95. In the second phase, to develop the strategic management guidelines for educational institutions in Secondary Educational Service Area Office 32. Research instrument was a five-point rating scale questionnaire which was used to assess the developing of strategic management guidelines for educational institutions. The statistics were used for data analysis; average, standard deviation and a modified priority needs index.
The results of the research were as follows:
1. Current condition of strategic management for educational institutions was at a high level (= 4.20). Desirable condition overall was the highest level (= 4.60). For priority needs index of strategic management for educational institutions. In descending order as follows: strategic analysis, strategy evaluation and control, strategic Implementation and formulating strategy of strategy
2. There are four components to reach of Strategic management approach: 1) Strategic Analysis, there were 6 steps. 2) Formulating strategy, there were 8 steps. 3) Strategic Implementation, there were 12 steps. 4) Strategy evaluation and control, there were 8 steps. The suitability of the guidelines was assessed at a high level (= 4.42) and the possibility of the guidelines was evaluated at the highest level (= 4.57).
คำสำคัญ
การพัฒนาแนวทาง, การจัดการเชิงกลยุทธ์Keyword
The development, Management, Strategicกำลังออนไลน์: 77
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,579
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,778
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093