...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 93-101
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1240
Download: 176
Download PDF
การศึกษาภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
Leadership Studies and Innovative Leadership Development Approaches of School Administrators Under the Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
กนกวรรณ จันทรนิมะ, อมร มะลาศรี, สุพจน์ ดวงเนตร
Author
Kanokwan Juntaranima, Amorn Malasri, Supot Duangnet

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ตามประสบการณ์การทำงานและตามขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหารในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดคำถามปลายเปิด

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด นอกนั้นอยู่ในระดับมาก

2. ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านบริหารความเสี่ยง โดยผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ทำงาน 1 - 10 ปี กับผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์การทำงาน 11 - 20 ปี มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมแตกต่างกัน

3. ผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน สรุปได้ดังนี้ ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารโรงเรียนควรพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ โดยเฉพาะแหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียนจะเกิดภาวะผู้นำด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงจากการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานผ่านรูปแบบที่ทันสมัย ภายใต้หลักการมี ส่วนร่วมและเปิดใจกว้าง ด้านการคิดสร้างสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรกำหนดนโยบายการพัฒนา มุ่งเน้นให้ผู้บริหารโรงเรียนมีเป้าหมายในการคิดสร้างสรรค์ให้ชัดเจน ส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหารโรงเรียนด้วยการสร้างแรงจูงใจให้แสดงศักยภาพของตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้บริหารโรงเรียนคิดและเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ ตลอดจนการจัดกิจกรรม การจัดฝึกอบรมและการศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง

Abstract

This research aims to 1) study innovative leadership of school administrators. Under the Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2 2) Comparison of innovative leadership of school administrators. Under the Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2 by work experience and by school size 3) Study the innovative leadership development of school administrators. The research was conducted in two phases. Phase 1: The Study of Innovative Leadership for School Administrators Research population School administrators It was a survey of 196 people under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office, District 2, a tool used for data collection, a questionnaire on innovative leadership of school administrators. Phase 2 Study of innovative leadership development of the 9 school administrators. The tool was used as an open-ended interview questionnaire.

Research Summary

1. School administrators Under the Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2, overall innovation leadership was at a high level. When considering each side, it was found that the moral and ethical aspects at the highest level The outside is at a high level.

2. School administrators Under the Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2 with different work experiences There is no different overall innovative leadership. When considering each aspect, it was found that the difference was statistically significant at the .05 level in one area, namely risk management School administrators with working experience 1 - 10 years and school administrators with 11 - 20 years working experience differ in innovative leadership.

3. School administrators Under the Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2 with different school sizes. There is no difference in overall innovative leadership and individual aspects.

4. Guidelines for the development of innovative leadership for school administrators Summarized as follows. The field of vision change School administrators should develop themselves by learning from important learning resources. In particular, learning resources that are individuals who are successful in managing change. In addition, school administrators will develop transformational visionary leadership by creating a work culture that encourages exchanging of knowledge with peers through a modern format. Under the principle of participation and open-mindedness Creative thinking the educational service area office should set up a development policy. Focus on school administrators to have clear goals for creativity. Encourage and support school administrators by creating incentives to demonstrate their potential. And give school administrators an opportunity to think and learn new things as well as organizing activities Ongoing training and study tours.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, การพัฒนาภาวะผู้นำ

Keyword

Innovative leadership, Leadership Development Approaches

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093