...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 60-70
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 497
Download: 195
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม
The Relationship between School Administrators’ Leadership Practices and the Effectiveness of Teacher Performance in Educational Opportunity Extension Schools in Nakhon Phanom Primary Educational Area Office
ผู้แต่ง
ปริศนา เขียนชาติ, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, วิจิตรา วงอนุสิทธิ์
Author
Prisana Khiancha, Ploenpit Thummarat, Vijittra Vonganusith

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 306 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 79 คน และครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 227 คน จากทั้งหมด 79 โรงเรียน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t – test, One - Way ANOVA ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนขยายโอกาส ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

4. ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา (Xt) กับ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาส (Yt) มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูงถึงสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดย มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 85.743

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเสนอแนะไว้ 1 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เสนอแนะไว้ 3 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ด้านสร้างแรงบันดาลใจผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และผู้สร้างนวัตกรรม และด้านจัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน โดยตระหนักถึงสุขภาวะของผู้เรียน

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship between school administrators’ leadership practices and the effectiveness of teacher performance and establish guidelines for developing school administrators’ leadership practices and the effectiveness of teacher performance in Educational Opportunity Extension Schools in Nakhon Phanom Primary Educational Area Office. The samples, obtained through multi-stage sampling, consisted of 79 school administrators and 227 teachers from 79 Educational Opportunity Extension Schools in Nakhon Phanom Primary Educational Area Office in the academic year 2020, yielding a total of 306 participants. The research instrument was a set of questionnaires on the relationship between school administrators’ leadership practices and the effectiveness of teacher performance in Educational Opportunity Extension Schools in Nakhon Phanom Primary Educational Area Office. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis test was done through t-test, One - Way ANOVA, and Pearson's product moment correlation.

The findings were as follows:

1. The leadership practices of school administrators perceived by participants as a whole were rated at a high level.

2. The effectiveness of teacher performance perceived by participants as a whole was rated at a high level.

3. The leadership practices of school administrators perceived by participants’ positions, school sizes, and work experience as a whole were different at the .01 level of significance.

4. The effectiveness of teacher performance perceived by participants’ positions, school sizes, and work experience as a whole was different at the .01 level of significance.

5. The leadership practices of school administrators (Xt) and the effectiveness of teacher performance (Yt) had a positive relationship ranging from moderate high to high levels at the .01 level of significance with the correlation coefficient of 85.743.

6. The guidelines for developing school administrators’ leadership practices were proposed, including participative leadership. Regarding the effectiveness of teacher performance, three aspects were proposed, namely participatory leadership, building students’ inspiration to promote behavior of knowledge acquisition and to become innovators, and organizing and providing learning activities and a conducive learning atmosphere to promote learners’ happiness and well-being.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

Keyword

Leadership of School Administrators, Effectiveness of Teacher Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093