บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษาและ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 327 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .353 - .813 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .980 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ F-test แบบ One-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ที่สำคัญคือ ผู้บริหารควรมีการจัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา มีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจนเกิดองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้จริง เปิดโอกาสให้บุคลากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติอย่างสมดุล เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนต่อไป
Abstract
This study aimed to 1) study the effectiveness of school administration towards the Sufficiency Economy Philosophy of Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1, 2) compare the teachers’ opinions on the effectiveness of school administration towards the Sufficiency Economy Philosophy of Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 and 3) study the recommendation for developing the effectiveness of school administration towards the Sufficiency Economy Philosophy of Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1. The samples were 327 teachers under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2020. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan Table and then employed stratified random sampling. The tools in this study were a set of 5-rating scales with the discrimination between .353-.813, the reliability of the whole questionnaires was .980, and structured interview. Statistics used for analyzing the data consisted of frequency, mean, standard deviation. F-test (One-way ANOVA) was used to test the hypothesis. Qualitative data used content analysis methods. Qualitative data used content analysis methods.
The results revealed as follows:
1. The level of the teachers’ opinions on the effectiveness of school administration towards the Sufficiency Economy Philosophy of Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 was overall at a high level. When considering each aspect, it was found that the highest mean was personnel development. It was followed by learners’ development activities, school administration, and results and achievements, respectively.
2. The comparison of teachers’ opinions on the school administration towards the Sufficiency Economy Philosophy of schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1 classified by school size was overall significantly different at the statistical level of .05.
3. Recommendations for developing the effectiveness of school management towards the philosophy of sufficiency economy in basic education schools under Chaiyaphum Primary Education Service Area Office 1, the crucial parts are the administrators should manage the area in accordance with the context of the school. set the integrated learning unit towards the philosophy of sufficiency economy: supervise, follow-up, evaluate, develop the curriculum continuously: organize activities that emphasizes the students’ knowledge to practical: provide opportunities for people to exchange learning and be the role models for ways of lives and keep up with changes in all dimensions in a balanced manner in order to certify the effectiveness of school management in accordance with the philosophy of sustainable sufficiency economy
คำสำคัญ
ประสิทธิผล การบริหารสถานศึกษา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงKeyword
Effectiveness, School Administration, Philosophy of Sufficiency Economyกำลังออนไลน์: 23
วันนี้: 1,058
เมื่อวานนี้: 1,313
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,477,455
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093