...
...
เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2565
หน้า: 20-30
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 802
Download: 203
Download PDF
ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
Motivation Factors Affecting Transformational Leadership of School Administrators Under The Primary Educational Service Area Office in Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง
เปรมทิพย์ คำทะเนตร, วัฒนา สุวรรณไตรย์, เทพรังสรรค์ จันทรังษี
Author
Pramtip Khamtanet, Watana Suwannatrai, Theprungsan Chantarungsri

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 336 คน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 183 คน และครู จำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยแรงจูงใจมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.632 – 0.938 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 ด้านที่ 2 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.629 – 0.917 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.964 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t - test, F-test (One-way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู โดยรวม อยู่ในระดับมาก

2. ปัจจัยแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

3. ปัจจัยแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

4. ปัจจัยแรงจูงใจและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู ที่มีลักษณะการจัดการเรียนการสอน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร โดยรวมสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยแรงจูงใจ ทั้ง 10 ข้อ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยแรงจูงใจ ด้านความสัมพันธ์กับบุคลากร ลักษณะงานที่ปฏิบัติ นโยบายและการบริหาร คุณภาพการบังคับบัญชา เงินเดือนและค่าจ้าง การได้รับความสำเร็จในงาน มีอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ได้ร้อยละ 86.20 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.18728

7. ปัจจัยแรงจูงใจ ที่ควรได้รับการพัฒนา มีจำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ ความสัมพันธ์กับบุคลากร ลักษณะงานที่ปฏิบัติ นโยบายและการบริหาร คุณภาพการบังคับบัญชา เงินเดือนและค่าจ้าง การได้รับความสำเร็จในงาน

Abstract

The purposes of this research aimed to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing motivation factors affecting transformational leadership of school administrators under the Primary Educational Service Area Office (PESAO) in Sakon Nakhon Province. The samples obtained through a stratified random sampling, consisted of 183 school administrators and 183 teachers in schools under the PESAO in Sakon Nakhon Province in the academic year 2020, yielding a total of 366 participants. The instrument was a set of questionnaires containing two aspects: Aspect 1 motivation factors with the discriminative power between 0.632 and 0.938 and the reliability of 0.979; Aspect 2 was related to school administrators’ leadership with the discriminative power between 0.629 and 0.917 and the reliability of 0.964. The statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis was tested using t-test, One-way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression. Analysis.

The findings were as follows:

1. Motivation factors and transformational leadership of school administrators as a whole was at a high level.

2. Motivation factors and transformational leadership of school administrators classified by participants’ positions as a whole and in each aspect showed no difference.

3. Motivation factors and transformational leadership of school administrators, classified by participants’ work experience as a whole and in each aspect showed no difference.

4. Motivation factors and transformational leadership of school administrators classified by types of school program provision showed no difference. Overall, the transformational leadership among school administrators was at the .05 level of significance.

5. Motivation factors and transformational leadership of school administrators had a positive relationship at the .01 level of significance. In addition, all ten aspects of motivation factors had a relationship at the .01 level of significance.

6. Motivation factors in terms of task completion, job characteristics had positive relationship with the following aspects: personnel, qualities of command, policies and administration, salaries, and wages as a whole were at the .01 level of significance; and had the predictive power toward school administrators’ transformational leadership with 86.20 percent and the standard error of estimate of ± .18728.

7. The motivation factors affecting the transformational leadership of school administrators needing improvement consisted of six aspects: 1) Task completion was related to providing a clear and appropriate work plan for each department; 2) Job characteristics. School administrators must have basic management skills, knowledge and abilities in educational administration, 3) Personnel relationship included teamwork support, and a friendly work environment; 4) qualities of command was related to monitoring and follow-up, supervision, devotion, commitment, working in a transparent manner with morals; 5) policies and administration included a provision of clearly defined administrative policies, and 6) salaries and wages included having clearly defined and transparent standards to ensure fair evaluations on individual work performance.

คำสำคัญ

ปัจจัยแรงจูงใจ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารโรงเรียน

Keyword

Motivation Factors, Transformational Leadership, School Administrators

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093