บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสตรีและครูผู้สอนสตรี จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสตรีและครูผู้สอนสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 410 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสตรี จำนวน 85 คน และ ครูผู้สอนสตรีจำนวน 325 คน จากจำนวน 85 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และมีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.61 - 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสตรีและครูผู้สอนสตรี พบว่า 1) จำแนกตามสถานภาพการดำรง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารสตรีมีความคิดเห็นสูงกว่าครูผู้สอนสตรี 2) จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ไม่แตกต่างกัน 3) จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสตรีและครูผู้สอนสตรี พบว่า 1) จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารสตรีมีความคิดเห็นสูงกว่าครูผู้สอนสตรี 2) จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) จำแนกประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี และประสิทธิผลของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
6. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี จำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ด้าน คือ การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นการใช้ปัญญา และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 69.3 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.24671
7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ผู้บริหารสตรีสามารถพัฒนาตนเอง การเป็นแบบอย่างที่ดี เรียนรู้จากบุคคลที่เป็นแบบอย่าง การจัดอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยน ใช้เทคนิควิธีที่ทันสมัย และส่งเสริมและกระตุ้นให้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing transformational leadership of women administrators influencing the effectiveness of schools under the Primary Educational Service Area Office (PESAO) in Nakhon Phanom Province in accordance with the perception of women administrators and teachers categorized by positions, school sizes, and work experience. The sample group, obtained through the multi-stage random sampling, yielded a total of 410 participants consisting of 85 women administrators and 325 women teachers from 85 schools under the PESAO in Nakhon Phanom Province in the 2020 academic year. The tool for data collection was a set of questionnaires with a reliability 0.95 and the discrimination ranging between 0.61 and 0.92, and structured interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The overall transformational leadership of women administrators was at a high level.
2. The overall effectiveness of schools was at the highest level.
3. Transformational leadership of women administrators, as perceived by participants revealed that in terms of positions, transformational leadership of women administrators was different at the .01 level of significance overall and in each aspect; and women administrators expressed opinions at a higher level than women teachers; 2) Iin terms of school sizes, there was difference at the .05 level of significance in overall; and 3) there was no difference in terms of work experience overall and in each aspect.
4. School effectiveness as perceived by participants showed that: 1) in terms of positions, there were differences at the .01 level of significance overall and in each aspect. Women administrators expressed opinions at a higher level than women teachers. 2) There were no differences overall and in each aspect in terms of school sizes; and 3) In terms of work experience, there was also no differences overall and in each aspect.
5. The transformational leadership of women administrators and school effectiveness had a positive relationship at a high level with the .01 level of significance.
6. Four aspects of transformational leadership were able to predict the effectiveness of schools under the PESAO in Nakhon Phanom Province. Three out of four aspects achieved the .01 level of significance, namely idealized influence, inspirational motivation, and intellectual stimulation. The individualized consideration aspect reached the .05 level of significance and had the predictive power of 69.30 percent with the standard error estimate of ± 0.24671.
7. The guidelines for developing the transformation leadership of women administrators influencing effectiveness of schools under the PESAO in Nakhon Phanom Province consisted of four aspects which were able to predict the school effectiveness. These aspects were idealized influence, inspirational motivation, intellectual stimulation, and individualized consideration. Through the guidelines, women administrators were able to develop themselves, be good role models and recognize and emulate worthwhile examples. The following provisions should be covered, such as trainings and seminars for knowledge exchange, employment of new techniques into practice, and support and encouragement to perform their work with fullest potential.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ประสิทธิผลของโรงเรียน, ผู้บริหารสตรีKeyword
Transformation Leadership, School Effectiveness, Women Administratorsกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 852
เมื่อวานนี้: 1,951
จำนวนครั้งการเข้าชม: 62,129
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093