บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 291 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.31–0.81 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coefficient alpha) ของ Cronbach มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.959 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย คู่เบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (t - test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จําแนกตามวุฒิการศึกษาในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จําแนกตามประสบการณ์ในการทำงานต่างกันโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส และด้านหลักการมีส่วนร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this study were to study and compare the opinions concerning administration applying good governance of secondary schools’ administrators in secondary educational service area office 6 in Chachoengsao Province by separating from each person’s factors, educational background and work experience. The samples were teachers in the secondary educational service area office 6, Chachoengsao province, year 2020. By using determining an appropriate sample size for research of the Krejcie and Morgan method got 291 teachers. By stratified sampling approach. Questionnaire was selected to be the research tool which made by researcher consisting of 5 levels of evaluation with the reliability value of Item-Objective Congruence (IOC) was between 0.80-1.00. Applying Cronbach’s α (alpha) coefficient technique, it was found that the questionnaire was reliable at the 0.956 level. The statistics used in this study were the value of frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and One-Way Analysis of Variance. When differences were found used the Scheffe’s Post hoc Comparison.
The result of research were:
1. On the whole teacher’s opinions towards the administration applying good governance of secondary schools’ administrators were in high level. The researcher found that the opinions towards legal justice were in the highest level, the opinions towards the morality were the second. However, the opinions towards accountability were the lowest level.
2. The comparison of the teachers' opinions towards the administration by good governance of secondary school administrators in secondary educational service area office 6 in Chachoengsao province by separating from educational background. They did not make the difference.
3. The comparison of the teachers' opinions towards the administration by good governance of secondary school administrators in secondary educational service area office 6 in Chachoengsao province by separating from work experience. They made the difference.
คำสำคัญ
ความคิดเห็นของครู, การบริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาลKeyword
Teacher Opinion; School Administration; Good governanceกำลังออนไลน์: 59
วันนี้: 1,759
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,958
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093