บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 354 คน จำแนกเป็นผู้บริหารจำนวน 104 คน และครูผู้สอน 250 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .391 - .820 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .956 และแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนก .402 - .855 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples การทดสอบ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบว่าค่าเอฟ (F-Test) มีความต่างกันทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีการของ Scheffe หรือ LSD ตามความเหมาะสม และหาค่าความสัมพันธ์พหูคูณ (Multiple Correlation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการจำแนกตามขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.549)
6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาไว้ดังนี้
6.1 การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ด้านความฉลาดมีไหวพริบ ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ด้านความสามารถในการจูงใจ ต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ด้านความสามารถด้านเทคโนโลยีลันวัตกรรม ต้องมีภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และด้านความมีชีวิตชีวาและอดทน สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ และมีความอดทนในการปฏิบัติงาน
6.2 การพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ด้านค่าจ้างและค่าตอบแทน ต้องพิจารณาขั้นเงินเดือนตามความเป็นจริงและมีเหตุผลในการพิจารณา
Abstract
This research aimed to compare the relationship between the desirable characteristics of school administrators and the satisfaction of the teacher performance under the supervision of the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The samples used in the research were school administrators and teachers under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2, Academic Year 2019, comprised of 104 administrators and 250 teachers using the Krejcie and Morgan sample size tables and using Multi-Stage Randomization Sampling. The Instruments used for collecting data It’s was a five-level estimation scale questionnaire consisting of a questionnaire of desirable characteristics of school administrators with a classification power of .391 - .820 with a total confidence value of .956 and a satisfaction questionnaire, satisfied with the performance of teachers There was a classification power of. 402 - .855 with a total confidence value of .950. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test (independent sample) F-test, One-Way ANOVA was analyzed if F-Test was found to be different, comparison were performed using Scheffe or LSD methods as appropriate. And find the relationship between multiple correlation.
The finding were as follows:
1. Desirable characteristics of school administrators overall at the highest level.
2. Teacher performance satisfaction Overall is at a high level.
3. Desirable characteristics of school administrators under the opinions of the school administrators and teachers. Classified by status found that overall were different. There were statistically significant at the .01 section, classified by school size. And working experience found that overall was not different.
4. Teacher performance satisfaction under the opinions of the school administrators and teachers. Classified by status found that overall were different. The statistical significance at level .01, classified by school size was found that overall was not different while classification by work experience was overall different. With statistical significance at the .05 level.
5. The relationship between desirable traits of school administrators and teacher performance satisfaction. There was a statistically significant positive correlation at the .01 level, with a moderate correlation (r = 0.549).
6. This research has proposed development guidelines as follows.
6.1 Development of desirable characteristics of school administrators; Intelligence, must always develop oneself. The ability to motivate, need to create motivation to work. Innovative technology capabilities, must have leadership in technology and innovation and the vitality and patience, able to work together with other people and have patience in performance.
6.2 Developing teacher performance satisfaction; wages and compensation, must consider the actual salary level and reason for consideration.
คำสำคัญ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูKeyword
Desirable characteristics of school administrators, Performance satisfaction of teacherกำลังออนไลน์: 19
วันนี้: 845
เมื่อวานนี้: 1,951
จำนวนครั้งการเข้าชม: 62,122
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093