บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจังหวัดที่ต่างกัน ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 335 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 76 คน และครูผู้สอน จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหาร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ผลการศึกษาการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01แต่จำแนกตามจังหวัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ผลการศึกษาการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียนและจังหวัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ ผู้บริหารต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ให้ความช่วยเหลือครูทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารควรให้ความไว้วางใจครูในการปฏิบัติงาน และแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสำเร็จของงาน ส่งเสริมให้ครูตระหนักและเน้นความสำคัญในการทำงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้ตรงตามความสามารถและความสนใจของครู ด้านสภาพการทำงาน ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและตรวจสอบการทำงานของครูอย่างต่อเนื่อง และด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานควรจัดกิจกรรมให้ครูได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
Abstract
The purposes of this research were: 1) to examine the level of School Administrators Leadership and Motivation Performance of Teachers Under the Office of Secondary Education Service Area 21; 2) to compare School Administrators Leadership and Motivation Performance of Teachers as perceived by school administrators and teachers with different position, school sizes, work experience and province; 3) to find out the relationship between School Administrators Leadership and Motivation Performance of Teachers; and 4) to establish the guidelines for developing School Administrators Leadership and Motivation Performance of Teachers. The samples consisted of a total of 335 participants including 76 school administrators, 259 teachers in Schools Under the Office of Secondary Education Service Area 21 in the 2020 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning School Administrators Leadership and Motivation Performance of Teachers. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, F – test (One – Way ANOVA) and Pearson Product - Moment Correlation Coefficient.
The findings were as follows:
1. The study results of the School Administrators Leadership level as a whole and each aspect were at a high level.
2. The study results of the Motivation Performance of Teachers level as a whole and each aspect were at a high level.
3. The comparative study results of the School Administrators Leadership as perceived by school administrators, and teachers with different position, school sizes and work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level, but there was not different in terms of province in overall.
4. The comparative study results of the Motivation Performance of Teachers as perceived by school administrators, and teachers with different positions and work experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level, but there was not different in terms of school sizes and province in overall.
5. The School Administrators Leadership and Motivation Performance of Teachers, as a whole had a positive relationship at the statistical significance of the .01 level.
6. The guidelines for developing School Administrators Leadership and Motivation Performance of Teachers by the guidelines for developing School Administrators Leadership involved two aspects: relationship - led leadership Executives must have good human relations. Provide equal assistance to all teachers and participatory leadership administrators should trust teachers to perform their work. The guidelines for developing Motivation Performance of Teachers involved four aspects: the success of the work encourage teachers to recognize and emphasize the importance of work, the nature of the work performed assign tasks, duties and responsibilities to meet the abilities and interests of teachers, working conditions there should be constant supervision, supervision and monitoring of the work of teachers and relationship with colleagues activities should be organized for teachers to have the opportunity to work together. And exchange knowledge with each other.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูKeyword
School Administrators Leadership, Motivation Performance of Teachers.กำลังออนไลน์: 73
วันนี้: 1,735
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,934
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093