บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอบางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในอำเภอบางปะกง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 191 คน กำหนด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) อย่างเป็นสัดส่วนใช้โรงเรียนเป็นชั้น (starta) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของ Cronbach (Coefficient alpha) เท่ากับ 0.977 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) หากพบว่ามีความแตกต่าง จึงทดสอบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe’s Post hoc Comparison)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอบางปะกงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ครูที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
3. ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และด้านการนิเทศการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were examines and compares Teachers’ Opinions of the Academic Administration of School Administrators in Bang Pakong District Under the Jurisdiction of Chachoengsao Primary Educational Service Area Office One as classified by level of educational, work experience, and school size. The sample consisted of 191 teachers, who worked in Bang Pakong District Under the Jurisdiction of Chachoengsao Primary Educational Service Area Office One in the academic year 2020, stratified random sampling method and considerate sample by tables of Krejcie and Morgan. The research instrument was a five-rating scale. Applying Cronbach’s α (alpha) coefficient technique, it was found that the questionnaire was reliable at the 0.977 level.The statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and One-Way Analysis of Variance. When differences were found then used the Scheffe’s Post hoc Comparison
The results as follows:
1. Teacher’s opinions about academic administration of school administrators was exhibited overall at a high level. When considered in each aspect, it was found that the level of academic performance was at a high level in the descending order of learning process development; educational supervision; school curriculum development.
2. When comparing teachers’ opinions of the academic administration of school administrators, teachers who differed in level of educational and differed in work experience did not exhibited concomitant differences in their opinions of academic administration overall and for all aspects.
3. Teacher who taught at different schools size did not exhibited concomitant differences in their opinions overall of academic administration. When considered in each aspect, it was found that the aspects of learning process development and educational supervision to be differences at the statistically significant level of .05.
คำสำคัญ
การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษาKeyword
The Academic Administration, School Administratorsกำลังออนไลน์: 75
วันนี้: 1,645
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,844
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093