...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2564
หน้า: 21-31
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 390
Download: 201
Download PDF
ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Selected Factors Affecting Quality of graduates of Rajabhat University, Thailand
ผู้แต่ง
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
Author
Sikan Pienthunyakorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยคัดสรรและระดับคุณภาพบัณฑิต หาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏ  ซึ่งประกอบไปด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร พฤติกรรมผู้บริหาร วัฒนธรรมองค์การ บรรยากาศองค์การการจัดการเทคโนโลยี ความมั่นคงในการทำงาน ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ สิ่งสนับสนุนการทำงาน  ประสิทธิภาพการทำงาน สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของบุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา  สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ภูมิภาคที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่แตกต่างกัน  รวมถึงมุ่งพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณาจารย์ที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประจำปีการศึกษา 2562-2563 จำนวน 697 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi- stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.412-0.998 มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.944-0.994  และ การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์   การวิเคราะห์ค่าสถิติทีชนิดกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (t – test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยคัดสรรทุกปัจจัยมีอยู่ในระดับมากและคุณภาพบัณฑิตในภาพรวมมีอยู่ในระดับมาก

2. คณาจารย์เพศชายและเพศหญิง คณาจารย์ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน คณาจารย์ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในภูมิภาคแตกต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคณาจารย์ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งทางวิชาการแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัย คัดสรรโดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. คณาจารย์เพศชายและเพศหญิง คณาจารย์ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน คณาจารย์ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งทางวิชาการแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับระดับคุณภาพบัณฑิตโดยรวมไม่แตกต่างกันส่วนคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับคุณภาพบัณฑิตโดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.ปัจจัยคัดสรรในมหาวิทยาลัยราชภัฏที่นำมาวิเคราะห์จำนวน10 ปัจจัย พบว่ามีจำนวน  5 ปัจจัย อันได้แก่สิ่งสนับสนุนการทำงาน ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การจัดการเทคโนโลยี ความมั่นคงในการทำงาน และพฤติกรรมผู้บริหาร ที่สามารถพยากรณ์ระดับคุณภาพบัณฑิตโดยรวมของมหาวิทยาลัยราชภัฏได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสิทธิภาพการทำงานสามารถพยากรณ์ระดับคุณภาพบัณฑิตโดยรวมของมหาวิทยาลัยราชภัฏอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ร้อยละ 70.70 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.34073

5. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาปัจจัยคัดสรร 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏให้สูงขึ้น

Abstract

The purposes of this research were to study and compare the selected factors affecting and quality of graduates of Rajabhat University, Thailand, compost of : administrators’ leadership, administrators’ behavior, cultural organization, climatic organization, working stability, learning management, working support, working efficiency, technology management, learning support, and quality of graduates in the opinion of academic staff, who had difference in sex, educational level, academic position status, and university region and determine the predictive power, and establish the policy to develop selected factors affecting and quality of graduates of Rajabhat University, The samples consisted of a total of 697 participants form the thirty eight Rajabhat Universities in Thailand in the academic year 2019-2020 . Using Multi-stage random sampling. The instruments for data collection were 11 questionnaires with discrimination power ranging-scale from 0.412-0.998 The reliability were 0.944-0.994.  The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t–test (Independent Samples), F–test (One–Way ANOVA), Pearson product-moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The selected factors affecting and the quality of graduates of Rajabhat University were as a whole at a high level.

2. The participants with difference in sexes, educational Levels, university region had difference opinion about selected factors affecting at a statistical significance level of .05. But the participants with difference in academic status had no difference opinion.

3. The participants with difference in sexes, educational levels, and academic status, had no difference opinion about quality of graduates of Rajabhat University, but the participants with difference university region had difference opinion as whole at a statistical significance level of .05

4. The 10 selected factors founded 5 factors such as: working support, learning management, technology management, working stability and administrator’s behavior could predict the quality of graduates Rajabhat university at a statistical significance level of .01. Whereas working efficiency could predict the quality of graduates Rajabhat university at a statistical significance level of .01. The 6 selected factors were able to predict the the quality of graduates of Rajabhat university with the predictive power of 70.70 percent and the standard of estimate was ± 0.34073

5.This research applied the policy for developing the selected factors that had effects on the quality of graduates of Rajabhat university.

คำสำคัญ

ปัจจัยคัดสรร, คุณภาพบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Keyword

Selected Factors, Quality of graduates, Rajabhat university

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093