บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบการบริหารจัดการงานสวนป่าในโรงเรียน ด้วยเทคนิควิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน ประกอบด้วยนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสวนป่า และผู้อำนวยการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับ EDFR รอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) และ EDFR รอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น (Opinionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการงานสวนป่าในโรงเรียน ประกอบด้วย 5 ด้าน จำนวน 60 รายการ ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนจำนวน 16 รายการ 2) ด้านการดำเนินงาน จำนวน 12 รายการ 3) ด้านการสร้างความร่วมมือ จำนวน 9 รายการ 4) ด้านการบูรณาการ จำนวน 17 รายการ และ 5) ด้านการกำกับติดตามประเมินผล จำนวน 6 รายการ
Abstract
The purpose of this research was to identify the management of forest garden in schools using Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique, collecting data from 17 experts, consisting of the professors in the University, community leaders involved in forest garden and school directors. The instruments used in the 1th round of EDFR were semi-structured interviews and the 2nd round of EDFR were the opinionnaire. The Statistics used in this research were median, mode, interquartile range and content analysis. The findings of this study were as follows: The management of forest garden in schools comprised 5 aspects with 60 items, including 1) Planning: 16 items 2) Operation: 12 items 3) Cooperation: 9 items 4) Integration: 17 items and 5) Monitoring and evaluation: 6 items.
คำสำคัญ
การจัดการ, สวนป่าKeyword
management, forest gardenกำลังออนไลน์: 220
วันนี้: 1,329
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,915
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093