บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างแนวทางเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและตรวจสอบแนวทางเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา โดยศึกษาเอกสารและตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง และขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำแนวทางไปปฏิบัติจริง โดยการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู จำนวน 140 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นด้านความเหมาะสมเท่ากับ 0.96 และด้านความเป็นไปได้เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
แนวทางเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 41 รายการ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 8 รายการ องค์ประกอบที่ 2 ด้านค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม ประกอบด้วย 6 รายการ องค์ประกอบที่ 3 ด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม ประกอบด้วย 11 รายการ องค์ประกอบที่ 4 ด้านภาวะผู้นำร่วมกัน ประกอบด้วย 8 รายการ และองค์ประกอบที่ 5 ด้านการประยุกต์การเรียนรู้ร่วมกันและการพัฒนาการเรียนรู้วิชาชีพ ประกอบด้วย 8 รายการ แนวทางเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาทั้ง 5 องค์ประกอบ 41 รายการ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติได้จริงสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Abstract
This research aims to 1) to create a guideline for enhancing the professional learning community in schools under the municipality of Phra Nakhon Si Ayutthaya. 2) To evaluate the suitability and feasibility of the approach to reinforce a professional learning community in schools under the municipality of Phra Nakhon Si Ayutthaya. The research methodology is divided into 2 steps: Step 1: create and verify guidelines for suitability a professional learning community in schools. The document was studied and the content validity was checked by 5 experts in educational administration, which was obtained by a specific method of selection. The research instrument used was a scale estimation questionnaire, and data were analyzed by finding the conformity index. And step 2 to evaluate the suitability and feasibility of applying the guideline by asking the opinions of the sample group, namely the directors and teachers 140 people, which was obtained by a stratified random sampling method. The research instrument used was a scale estimation questionnaire. The reliability of the data was 0.96 and the feasibility was 0.98 standard deviation and the statistical test.
The results of the research showed that
The guidelines for enhancing professional learning communities in schools consist of 41 items of 5 elements is a component 1, supporting structures for professional learning communities, consisting of 8 items, Component 2: shared values and vision consisted of 6 items, Component 3: Team collaboration consists of 11 items. Component 4: Shared Leadership consists of 8 items and component 5, application of collaborative learning and professional learning development, consisting of 8 items. Guidelines for enhancing professional learning communities in schools of all 5 elements of 41 items are suitable and feasible for practical implementation significantly higher than the specified criteria of 3.50 was statistically significant at 0.5 level
คำสำคัญ
แนวทางเสริมสร้าง, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาKeyword
Guidelines for enhancing, the the professional learning communityกำลังออนไลน์: 202
วันนี้: 1,310
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 14,896
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093