บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและทิศทางในการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของนักศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของการพัฒนาภาวะผู้นำในนักศึกษากับแนวทางการพัฒนานักศึกษาผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษาจำนวน 16 คน ในส่วนงานระดับวิทยาเขตและกลุ่มคณะด้าน 1) วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและ 3) มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและทิศทางการพัฒนาภาวะผู้นำของนักศึกษา มีการขับเคลื่อนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ โดยประยุกต์ตามบริบทของแต่ละคณะ พัฒนาระบบการสร้างนักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่มีคุณภาพมากกว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษา มีความรู้ด้านวิชาการตามมาตรฐานวิชาชีพ ทักษะชีวิต จริยธรรม และสมรรถนะสากล โดยส่งเสริมผ่านการเรียนรู้วิชาการและวิชาชีพตามหลักสูตรและโครงการกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา
2. ความสอดคล้องของการพัฒนาภาวะผู้นำในนักศึกษากับแนวทางการพัฒนานักศึกษาสู่ผลสัมฤทธิ์บัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการสร้างนักศึกษาให้เป็นคนดี มีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมนำความรู้ มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และจิตสาธารณะ แต่พบว่ายังมีช่องว่างเกี่ยวกับแนวทางหรือรูปแบบกระบวนการในการสร้างหรือพัฒนาภาวะผู้นำในนักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้นำนักศึกษา ขาดการบูรณาการด้านวิชาการกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่เป็นรูปธรรม รวมไปถึงขาดกลไกการตรวจสอบ การวัดและประเมินผลการพัฒนาทักษะต่าง ๆ อย่างมีคุณภาพอันจะนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางการศึกษาและพัฒนาภาวะผู้นำของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเชิงลึกต่อ
Abstract
The purposes of this research were to 1) study the current conditions and directions for the development of student leadership skill and 2) to analyze the consistency of leadership development in students with the approach to student development. The key informant were 16 administrators of Prince of Songkla University (PSU), Hat Yai campus involve with student’s development section from the campus level and the faculties consist of 1) health sciences, 2) science and technology and 3) humanities social sciences. The research instruments were semi-structured interviews and content analysis techniques.
The findings:
1. The current state and direction of development of student leadership. The policies and strategic plans align based on the context of each faculty. Developed a student development system to be a desirable graduate than only graduates; with knowledge of academic standards, professional ethics, life skills and global competency. Encouraged through academic and professional curriculum and extra-curricular activities for student development.
2. Correspondence of student leadership development with the student development approach towards graduate achievement; the desirable in the 21st century. The university focuses on building students character to be good people, leadership, morality and knowledge, skills in the 21st century, and the public mind. However, found that there were still gaps in the approach or process of creating or developing leadership among students. Especially for students who are not student leaders. Lack of integration between academic and student development activities including the lack of a monitoring mechanism. Measurement and evaluation of the skills development, which can lead to the creation of a truly changed
Findings from this research can be used for In-depth research on leadership development for undergraduate students.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ, นักศึกษา, ทักษะในศตวรรษที่ 21, บัณฑิตที่พึงประสงค์Keyword
Leadership, Student, 21st Century skills, Desirable graduatesกำลังออนไลน์: 330
วันนี้: 1,543
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,129
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093