บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 3) พัฒนาแนวทางการดำเนินงานการดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 327 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินองค์ประกอบของการนิเทศภายในแบบชี้แนะ 2) แบบสอบถาม สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก รายข้ออยู่ระหว่าง 0.31 ถึง 0.74 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศภายในแบบชี้แนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มี 3 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอบย่อย คือ องค์ประกอบที่ 1 ขั้นเตรียมการก่อนการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลของผู้รับการนิเทศ 2) สร้างสัมพันธภาพ ทีมงาน และสร้างบรรยากาศที่ดี 3) สอบถามและรับฟังความคิดเห็นจากผู้รับการนิเทศ 4) ผู้นิเทศสร้างองค์ความรู้ 5) จัดทำข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อใช้ในกระบวนการนิเทศ องค์ประกอบที่ 2 ขั้นดำเนินการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด 2) กำหนดขั้นตอนการนิเทศ 3) กำหนดบทบาทในการนิเทศ 4) ดำเนินการนิเทศตามแผนที่วางไว้ องค์ประกอบที่ 3 ขั้นสรุปผลการนิเทศภายในแบบชี้แนะ มี 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ติดตามผลและประเมินผลการนิเทศชี้แนะและ 2) สรุปผลการนิเทศชี้แนะและวางแผนการนิเทศชี้แนะครั้งต่อไป
2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ พบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศ ภายในแบบชี้แนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบชี้แนะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด
3. แนวทางการดำเนินการนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
This purposes of this research were to 1) to study the elements and indicators of Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkan 2) to study the current and desirable situations of Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkan 3) to develop a Guideline for Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkan. The samples of the study comprised of 327 administrators and the teachers in the Education Institutions under Primary Educational Service Area Office Buengkan were selected by Stratified Random Sampling. The research instruments consisted of 1) assessment form of elements of the coaching supervision. 2) a questionnaire on the current and desirable condition of coaching supervision in the schools. The questionnaire obtained the discrimination ranging from 0.31 to 0.74 and the reliability of 0.94 3) structured interviews 4) suitability and feasibility assessment of the coaching supervision guideline. The statistics used consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified).
The results revealed that:
1. The elements of coaching supervision had 3 main elements and 11 sub elements such as: The first element was the preparation before coaching supervision had 5 sub elements comprised 1) to study information of coachee 2) to make relationships teamwork and a good atmosphere 3) to ask and listen opinion of coachee 4) Knowledge creation 5) to make data and information of school for supervision. The second element was the performance of the coaching supervision had 4 sub elements consisted of 1) to set goals and indicators 2) to determine the supervision process 3) to determine role in supervision 4) to perform the supervision as planned. The third element was the summary of coaching supervision had 2 sub elements consisted of 1) to follow up the evaluation of coaching supervision 2) summary of coaching supervision and the planning for next supervision.
2. The current and desirable situations of Supervision and Coaching for School Primary Educational Service Area Office Buengkan revealed that the current condition of the overall coaching supervision was at a high level. When considering each element, it was found that all components were at high level. The desirable condition of overall coaching supervision was at the highest level. When considering each element, it was found that all components were at the highest level.
3. The guidelines of coaching supervision for educational institutions under Primary Educational Service Area Office Buengkan were the most appropriate and feasible at the highest level
คำสำคัญ
การพัฒนาแนวทาง, การนิเทศภายใน, การนิเทศภายในแบบชี้แนะKeyword
Developing Guideline, Supervision, Supervision and Coachingกำลังออนไลน์: 376
วันนี้: 1,591
เมื่อวานนี้: 1,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 15,177
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093