...
...
เผยแพร่: 28 ก.พ. 2564
หน้า: 186-196
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1087
Download: 248
Download PDF
ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร
The Technological and Information Leadership and Effectiveness of Schools under the Local Administrative Organization (LAO) in Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง
นิศาชล บำรุงภักดี, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, เทพรังสรรค์ จันทรังษี
Author
Nisasol Bumrungpukdee, Ploenpit Thummarat, Thaprangsan Jantharangsee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ตามความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 200 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบไม่ใช้สัดส่วน (Non-proportional  Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .978 และ 989 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .542-.879 และ .508-.908 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการของ Scheffe และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระดับการจัดการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และระดับการจัดการศึกษา ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีกับประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนครที่ควรได้รับการพัฒนาในส่วนของภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยีและด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในด้านการจัดการเรียนการสอนและในส่วนของประสิทธิผลโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนครมี 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, find out the relationship and establish the guidelines for developing technological and information leadership and effectiveness of schools under the Local Administrative Organization (LAO) in Sakon Nakhon Province. The samples were administrators and teachers, given total 200 participants in the academic year 2019. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning technological and information leadership and effectiveness of schools with a reliability of .978 and .989 and a discriminative power between .542-.879 and .508-.908. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA) and Pearson Product-Moment Correlation Coefficient.

The findings were as follows:

1. The technological and information leadership, as a whole and each aspect were at a high level.

2. The effectiveness of school, as a whole and each aspect were at a high level.

3. The technological and information leadership classified by working experience, individual organization and type of school program provision, as a whole, showed no difference. In terms of position, the results showed significant differences at a .01 level.

4. The effectiveness of schools classified by position, working experience and type of school program provision, as a whole, showed no difference. In terms of individual organization, the results showed significant differences at a .05 level.

5. The technological and information leadership and effectiveness of schools, as a whole had a positive relationship at the statistical significance of the .01 level.

6. The guidelines for developing the technological and information leadership involved three aspects: technological and information vision, technological and information competency and technological and information supporting in learning processing. In addition, the guidelines for developing effectiveness of schools under the Local Administrative Organization (LAO) in Sakon Nakhon Province, comprised one aspect: 1) personnel administration in schools.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี, ประสิทธิผลโรงเรียน

Keyword

Technological and information leadership, Effectiveness of School

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093