...
...
เผยแพร่: 28 ก.พ. 2564
หน้า: 175-185
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 708
Download: 196
Download PDF
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
Transformational Leadership of School Administrators Affecting Effectiveness of District Non-Formal and Informal Education Centers in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2
ผู้แต่ง
ปิยะ ดาบชัย, สุรัตน์ ดวงชาทม, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Piya Dabchai, Surat Duangchatom, Pinyo Tonglao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 247 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 37 คน ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ครูการศึกษานอกโรงเรียนตำบล และครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 210 คน ในปีการศึกษา 2562 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .48-.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ในกรณีพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé's Method)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ประสิทธิผลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 อยู่ในระดับมากที่สุด

3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ครู กศน.ตำบล และครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง ไม่แตกต่างกัน ส่วนขนาดของสถานศึกษา และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด พบว่า โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 

4. ประสิทธิผลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ครู กศน.ตำบล และครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ตามสถานภาพตำแหน่ง ไม่แตกต่างกัน ส่วนขนาดของสถานศึกษา และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด พบว่า โดยรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 โดยภาพรวม กับประสิทธิผลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง (Rxy=.764)
6. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 จำนวน 8 ด้าน พบว่า 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยมีภาพรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านความสามารถในการจูงใจ เพื่อสร้างทีมงาน ด้านความสามารถในการดำเนินการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม และด้านมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

7. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 เสนอไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสามารถในการจูงใจเพื่อสร้างทีมงาน ด้านความสามารถในการดำเนินการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม และด้านมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

Abstract

The purposes of this research were to investigate transformational leadership of school administrators affecting the effectiveness of District Non-Formal and Informal Education Centers (DNIEC) in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2. The sample, obtained through multi-stage random sampling, comprised 247 participants, including 37 school administrators, civil service teachers, volunteers of Non-Formal Education, teachers from Subdistrict Non-Formal and Informal Education, teachers from community learning centers in the academic year 2019.The research instrument for data collection was a set of 5-rating scale questionnaires with the item predictive power from .48 to .83 and the reliability of .98. Statistics employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, One-Way ANOVA, and Scheffé's method.

The findings were as follows:

1. The transformational leadership affecting the effectiveness of DNIEC in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2, as a whole was at the highest level.

2. The effectiveness of DNIEC in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2, as a whole was at the highest level.

3. The transformational leadership of school administrators as perceived by participants classified by positions was not different, whereas in terms of school sizes as a whole and each aspect differed significantly at the .01 and .05 level.

4. The effectiveness of DNIEC in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2, as a whole as perceived by participants with different positions was not different. In terms of school sizes and the Office of Non-Formal and Informal Education in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2, there were significant differences at the .01 level.

5. The transformational leadership of school administrators of DNIEC and a whole and the effectiveness of DNIEC in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2 as a whole had a positive relationship with the correlation coefficient of .764 (Rxy=.764) at a statistically significant level of .01.

6. Three out of eight aspects of school administrators’ transformational leadership could predict the effectiveness of DNIEC in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2 comprising influence ability to build teamwork, ability to participate in decision-making, and work commitment for success.

7. The guidelines for developing transformational leadership of school administrators affecting the effectiveness of DNIEC in the Upper Northeastern Provincial Cluster 2 proposed three aspects: influence ability to build teamwork, ability to participate in decision-making, and work commitment for success.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ประสิทธิผล

Keyword

Transformational Leadership, Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093