...
...
เผยแพร่: 28 ก.พ. 2564
หน้า: 157-165
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 837
Download: 200
Download PDF
การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร
A Study of Administrator’s Creative Leadership in Private School Mukdahan Province
ผู้แต่ง
เฉลิมพล เอกพันธุ์, ธีระ ภูดี
Author
chalermpol Ekapan, Teera Prudee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน และครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร ปีการศึกษา 2561 รวม 226 คน จากโรงเรียนเอกชนทั้งหมด 12 แห่ง สังกัดสำนักงานศึกษาจังหวัดมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน และครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 7 คน เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การจัดทำข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาและการนำเสนอแบบพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

1. การศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.37 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มี 2 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการเป็นผู้นำที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มีค่าเฉลี่ย 4.63 ด้านการเป็นผู้นำบริหารความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ย 4.51 และพบว่า มี 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดมุกดาหาร สรุปผลดังนี้

2.1 ด้านการเป็นผู้นำการเรียนรู้แบบทีม พบว่า ความเห็นโดยรวม ควรส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน การจัดกิจกรรมการวางแผน การสนทนาการอภิปราย การระดมพลังสมอง รวมไปถึงการศึกษานอกสถานที่เป็นหมู่คณะของผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียน สนับสนุนการจัดตั้งภาคีเครือข่ายการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นระบบ มีการประสานงานอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขณะปฏิบัติ งานหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อช่วยให้ทีมงานแต่ละฝ่ายประสบความสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว และยังสามารถควบคุมดูแลการทำงานเป็นทีมให้มีสมาชิกในกลุ่มงานในขนาดที่เหมาะสมอีกด้วย

                      2.2 ด้านการเป็นผู้นำสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พบว่า ความเห็นโดยรวม ควรส่งเสริมความสามารถในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น โดยอาศัยประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ ให้มีพัฒนาขึ้นเป็นแนวความคิดใหม่ ๆ สามารถอธิบาย สื่อสาร ทำความเข้าใจให้ผู้อื่นนำความคิดที่มีค่าของตนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ผู้บริหารค้นหาแนวทางปฏิบัติงานที่ดีกว่าและใหม่กว่าอยู่เสมอ โดยไม่ผูกพันอยู่กับความคิดแบบเดิม ๆ มีการแสวงหาคำตอบ คำถาม หรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ ในการแก้ ปัญหาการทำงานที่ยุ่งยาก พร้อมทั้งสร้างแรงกระตุ้นให้ครู บุคลากร และนักเรียนมีความกล้าที่จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าที่จะแสดงออกในการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมที่แปลกใหม่ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีคุณค่า และยังมีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สอดคล้องตามกลยุทธ์การปรับตัวองค์กรเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

Abstract

The purpose of this research aimed to study the level of leadership and guidelines for creative leadership development of private school administrators in Mukdahan Province. The study was divided into 2 phases as follows; Phase 1, to study the level of creative leadership of private school administrators in Mukdahan Province. Populations include private school administrators and teachers in private schools in Mukdahan Province, the academic year 2018, a total of 226 people from a total of 12 private schools under the Mukdahan Provincial Education Office. The sample group consisted of private school administrators and 144 private school teachers in Mukdahan Province. The instruments used in the research were; a rating scale questionnaire, analysis of statistics, means and standard deviation. Phase 2, was to study the guidelines for the creative leadership development of private school administrators in Mukdahan Province. The target group of the research was 7 academic dignitaries; it was a structured interview, data creation by content analysis and descriptive presentation.

The results of the research showed that;

1.  The study of the creative leadership level of the private school administrators in Mukdahan Province of the whole had the high level with average 4.37. When considered in each aspect, it was found that there were

2 aspects with an average of the highest level, which were the leadership of work achievement with an average of 4.63 and the aspect of risk management leadership with an average of 4.51. There were 3 aspects with a high level of average value,

2. The guidelines for the development of creative leadership of the private school administrators in Mukdahan Province can be summarized as follows;

2.1 The leadership in team learning found that in general there should have some opinions to support administrators, teachers, and the personnel to learn together, to create teamwork in school, organizing activities, planning, discussions, brainstorming, including field trips as a group of administrators, teachers, and the school personnel, to support the establishment of a systematic teamwork network, and there was close coordination for resulting in the exchange of knowledge while working or doing various activities together to help each teamwork more successfully than working alone. And can also control and work as a team to have the members of the workgroup in the appropriate size as well.

2.2 In terms of leadership in creating creativity, it was found that, in general, it was agreed that it should promote the ability to create new things by using existing experience to develop into new concepts, be able to explain, communicate, and understand for others to use their valuable ideas for the most benefit. Executives should be always searching for better and newer without being bound to the old ideas, finding the answers to questions or new work methods to solve difficult work problems, as well as to encourage teachers, personnel, and students for the creativity by using the exist resources valuably, also had morality and ethics together with in accordance for the strategy of organizational adjustment to the Thailand 4.0

คำสำคัญ

ระดับภาวะผู้นำ, แนวทางการพัฒนา

Keyword

Leadership level, Development guidelines

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093