บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดเขตตรวจราชการที่ 11 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน เจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียนและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานพัสดุ และแนวทางการการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตตรวจราชการที่ 11 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน เจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียนและครู จำนวน 397 คน จาก 61 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สภาพ ปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.34-0.80 และ 0.53-0.82 และมีค่าความเชื่อมั่น สภาพ ปัญหามีค่าเท่ากับ 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดเขตตรวจราชการที่ 11 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน เจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน และครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย
2. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน เจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน และครู มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน เจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน และครู จำแนกตามขนาดโรงเรียน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน เจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน และครู จำแนกตามประสบการณ์ปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
5. แนวทางการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมัธยม นำเสนอแนวทางพัฒนา 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการบำรุงรักษา การตรวจสอบ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ ต้องศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ หากพบพัสดุที่ชำรุดเสียหาย ให้ดำเนินการซ่อมบำรุงให้กลับมาอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน อยู่ตลอดเวลา แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุอย่างเคร่งครัดมีการจัดอบรม คู่มือแบบแผนในการตรวจสอบพัสดุที่แน่นอนและ 2) ด้านการจำหน่ายพัสดุ ควรมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ศึกษาดูงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคู่มือประกอบการปฏิบัติงานพัสดุ ให้ความรู้ความเข้าใจในด้านการจำหน่ายพัสดุและปฏิบัติตามขั้นตอนการจำหน่ายพัสดุอย่างเคร่งครัด มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการจำหน่ายพัสดุที่ชัดเจน มีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน มีการจัดทำคู่มือในการจำหน่ายพัสดุเพื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งการนิเทศ กำกับ ติดตามจากฝ่ายบริหารโรงเรียนในด้านการจำหน่าย
Abstract
The purposes of this research were to investigate and compare conditions and problems for developing procurement management in secondary schools under the Educational Inspection Region 11 as perceived by administrators, heads of school procurement and procurement officers, classified by positions attained, school sizes and procurement work experiences; and to establish the guidelines for developing procurement management in secondary schools under the Educational Inspection Region 11. Participants were 397 participants, including school administrators, heads of school procurement, procurement officers and teachers from 61 secondary schools under the Educational Inspection Region 11. The research instruments included a set of questionnaires concerning conditions and problems of school procurement management with the item discriminative power ranging from 0.34 to 0.80, and 0.53 to 0.82, respectively and the reliability of 0.96 and 0.97, respectively. Statistics for data analysis comprised percentage, mean, standard deviation, and One-Way ANOVA.
The findings were as follows:
1. Conditions and problems for developing procurement management in secondary schools under the Educational Inspection Region 11, as perceived by participants as a whole were at a high level, whereas the problems were at a low level.
2. Participants’ opinions toward conditions of school procurement as a whole differed at a statistical significance of the 0.01 level, whereas the problems were different at a statistically significant level of .05.
3. Participants classified by school sizes indicated that their opinions as a whole were not different in terms of conditions and problems of school procurement management.
4. Participants classified by procurement work experiences expressed their opinions toward conditions of school procurement management as a whole differently at a statistical significance of the 0.01 level. In terms of problems, there were different at a statistical significance of the 0.05 level
5. The proposed guidelines for developing the conditions and problems in procurement management at secondary schools under the Educational Inspection Region 11 involved two aspects: Procurement Maintenance concerned procurement monitoring and controlling, school procurement personnel being efficient on rules and regulations, maintenance of supplies being ready for use at all times, appointment of procurement inspection committee, and provision taken regarding procurement training and manuals; and 2) Procurement Distribution concerned provisions of workshops, field visits, manuals for procurement performance to gain better knowledge and understanding of the procurement distribution adhering to the procurement distribution processes, appointment of school procurement committee, training courses, manuals for procurement distribution, and supervision and monitoring from school administrators
คำสำคัญ
การบริหารงานพัสดุโรงเรียนKeyword
School Procurement Managementกำลังออนไลน์: 75
วันนี้: 1,841
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,040
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093