...
...
เผยแพร่: 28 ก.พ. 2564
หน้า: 137-146
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1000
Download: 159
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
The Relationship between Behavioral Leadership of School Administrators and The Motivation in The Performance of The Teacher under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
นารินทิพย์ สิงห์งอย, ธวัชชัย ไพใหล, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
Author
Narinthip Singngoy, Thawatchai Pailai, Vijittra Vonganusith

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 339 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 113 คน ครูผู้สอน จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า คือ ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา/การจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มีค่าความเชื่อมั่น .963 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล t-test, F-test (One-way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1 อยู่ระดับมาก

2. การจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 อยู่ระดับมาก

3. ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ขนาดของสถานศึกษาและอำเภอที่ตั้งของสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่มีอำเภอที่ตั้งของสถานศึกษาแตกต่างกัน ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบตามสบาย และด้านพฤติกรรมผู้นำแบบฉกฉวยโอกาส มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

4. การจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง แตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ขนาดของสถานศึกษาและอำเภอที่ตั้งของสถานศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .639

6. แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ได้แก่ ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามี 2 ด้านคือ ด้านพฤติกรรมผู้นำแบบตามสบาย ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องสร้างความเชื่อมั่นระหว่างครูกับผู้บริหาร และด้านพฤติกรรมผู้นำแบบฉกฉวยโอกาส ผู้บริหารต้องสร้างความตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม  และให้ความสำคัญกับการทำงาน ส่วนด้านการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูมี 3 ด้าน คือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สร้างความตระหนักต่อบทบาทและหน้าที่ของครูในการปฏิบัติงาน ด้านความรับผิดชอบ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ยกย่องชมเชยเมื่องานสำเร็จ และด้านลักษณะของงาน มอบหมายงานให้ตรงตามความถนัด ความรู้และความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน

Abstract

The purposes of this research aimed to examine The Relationship between Behavioral Leadership of School Administrators and the motivation in the performance of the teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1. The sample, obtained through proportional stratified random sampling, were 113 directors, and 226 teachers, yielding a total of 339 participants from under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1 in the academic year 2019. The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire containing: Behavioral Leadership of School Administrators and the motivation in the performance of the teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1 with the reliability of .963. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and F-test (One – Way ANOVA), Pearson’s product-moment correlation.

The findings were as follows:

1. Behavioral Leadership of School Administrators under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1, were at a high level in overall.

2. The motivation in the performance of the teachers in the performance of the teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1, were at a high level in overall.

3. Behavioral Leadership of School Administrators under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1, as perceived by participants from Position, experience, school sizes and District school location Comfortable leader behavior and Opportunistic leadership behavior showed statistical significance at .05 level.

4. The motivation in the performance of the teachers in the performance of the teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1 as perceived by participants from Position showed statistical significance at .05 level. As for experience, school sizes and District school location showed statistical significance at the .05 level.

5. The Relationship between Behavioral Leadership of School Administrators and the motivation in the performance of the teachers had a positive relationship at the .01 statistical significance level. With correlation coefficient at .639.

6. Guidelines for Developing the Relationship between Behavioral Leadership of School Administrators and Teachers Job Motivation Under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 1, consisting of behavioral leadership of educational institution administrators, consisting of 2 aspects: comfortable behavioral leader And taking the opportunity to take advantage of leader behavior As for motivation in the performance of teachers, there are 3 areas: career progression Responsibility And the nature of work

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม, การจูงใจในการปฏิบัติงาน

Keyword

Behavioral Leadership, Work Motivation

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093