...
...
เผยแพร่: 28 ก.พ. 2564
หน้า: 127-136
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 398
Download: 160
Download PDF
การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
The Development Guideline for Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan
ผู้แต่ง
วลัยลักษณ์ เที่ยงธรรม, ไพบูลย์ ลิ้มมณี
Author
Walailuck Theangtum, Paiboon Limmanee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 3) พัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก 0.20-0.74 และค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คาเฉลี่ยสภาพปัจจุบัน คาเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์ ค่าดัชนีเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ สรุปได้ว่า องค์ประกอบของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 4 องค์ประกอบหลัก และมี 40 ตัวบ่งชี้ โดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86

2. สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ของผู้บริหารและครูผู้สอน ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. แนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) ด้านการเตรียมการนิเทศ 2) ด้านการจัดทำแผนการนิเทศ 3) ด้านการนิเทศการปฏิบัติงาน 4) ด้านการประเมินผลการนิเทศ แนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to 1) to study the elements and indicators of Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan 2) to study the current and desirable condition of Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan and 3) to develop guideline for Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan. The sample including the director of education and teachers for 327 people. The instruments for data collection was a 5-rating scale questionnaire with the discriminative power ranging from 0.20 to 0.74 and the reliability of 0.97. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, average current condition, average desirable condition and Modified Priority Needs Index (PNImodified).

The findings were as follows:

1. The elements of Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan. In summary, the elements of Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan has 4 main components and 40 indicators. As a whole aspect, the appropriate in the highest level which mean equal to 4.86.

2. The current condition of Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan of director and teacher consists of 4 components. As a whole aspect it was found that all components were at high level. The desirable condition of overall Mentoring Internal Supervision for School was at the highest level.

3. Guideline for Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan. There are 4 components consists of 1) Preparation supervision 2) Planning supervision 3) Operation supervision 4) Evaluation supervision. Guideline for Mentoring Internal Supervision for School Primary Educational Service Area Office Buengkan was appropriate and possibility at the highest level

คำสำคัญ

การพัฒนาแนวทาง, การนิเทศภายใน, การนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยง

Keyword

Professional Administrators, Desirable Characteristics of School Administrators

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093