...
...
เผยแพร่: 28 ก.พ. 2564
หน้า: 114-126
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 426
Download: 152
Download PDF
สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22
Conditions and Effectiveness of School Budget Management Under Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้แต่ง
รักษณาลี สุริหาร, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, วรกัญญาพิไล แกระหัน
Author
Raksanalee Surihan, Ploenpit Thummarat, Worakanyapilai Kaerahan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงาน และจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน และหาแนวทางยกระดับประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 360 คน ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที (t-test) แบบ Independent Samples และการทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3. สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ที่มีขนาดของโรงเรียนแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. สภาพการบริหารงบประมาณของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานงบประมาณหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ที่มีจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียนต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางยกระดับประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มี 4 ด้าน ดังนี้ ด้านการจัดทำแผนงบประมาณ ด้านการรายงานผลการดำเนินการ ด้านการตรวจสอบภายใน และด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา

Abstract

The purposes of this research were to investigate and compare conditions and effectiveness of school budget administration under Secondary Educational Service Area Office 22 (SESAO 22) as perceived by school directors, vice-directors or heads of the budget management group and teachers classified by positions, school sizes, work experiences and provincial location. The guidelines for developing school budget management were also examined. The samples, obtained through multi-stage random sampling, were 360 participants, including school directors, vice-directors or heads of the budget management group and teachers from 81 schools under the SESAO 22 in the academic year of 2019. The instruments for data collection were a set of questionnaires and interview forms. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, and One-Way ANOVA.

The findings were as follows:

1. Conditions and effectiveness of school budget administration as perceived by participants as a whole were at a high level.

2. Conditions and effectiveness of school budget administration as perceived by participants classified by positions as a whole and each aspect showed no difference.

3. Conditions and effectiveness of school budget administration as perceived by participants from different school sizes as a whole and each aspect showed no difference.

4. Conditions and effectiveness of school budget administration as perceived by participants with different work experiences as a whole showed no difference.

5. Conditions of school budget administration as perceived by participants from different provincial location as a whole were different at the .05 level of significance, whereas the effectiveness of school budget management as a whole was different at the .01 level of significance.

6. The guidelines for improving the effectiveness of school budget management consisted of four aspects: 1) Budgeting Planning. 2) Operation Report 3) Internal Auditing and 4) Education Resource Mobilization and Investment.

คำสำคัญ

การบริหารงบประมาณของโรงเรียน, ประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณโรงเรียน

Keyword

School Budget Management, Effectiveness of School Budget Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093