บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 406 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 66 คน และครูผู้สอน จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามการทำงานเป็นทีม มีค่าอำนาจจำแนก 0.38 - 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 แบบสอบถามประสิทธิผลมีค่าอำนาจจำแนก 0.34 - 0.81 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 ของโรงเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การทำงานเป็นทีม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 อยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 อยู่ในระดับมาก
3. การทำงานเป็นทีม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีม กับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. การทำงานเป็นทีมที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน (S6) ด้านการติดต่อสื่อสาร (S2) ด้านการมีส่วนร่วม (S5) และด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (S3) ความแปรปรวนของประสิทธิผลของในโรงเรียน โดยรวมได้ร้อยละ 81.20 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± .22786 โดยสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ ดังนี้
E = 0.194 + 0.364(S6) + 0.349(S2) + 0.379(S5) - 0.145(S3)
และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
Zr = 0.387(Z6) + 0.421(Z2) + 0.373(Z5) - 0.226(Z3)
7. แนวทางในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่
7.1 ด้านการติดต่อสื่อสาร โดยผู้บริหารโรงเรียนสื่อสารให้ครูผู้สอนได้รับข้อมูลในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน และเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนสามารถอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างได้อย่างเปิดเผย
7.2 ด้านการมีมนุษย์สัมพันธ์ผู้บริหารโรงเรียนเป็นตัวอย่างในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการช่วยเหลือกันและมีน้ำใจต่อกัน
7.3 ด้านการมีส่วนร่วม ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จ
7.4 ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผู้บริหารโรงเรียนมอบหมายงานที่สำคัญให้กับครูผู้สอนอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการวางแผนการปฏิบัติงาน และมีอำนาจการตัดสินใจในงานที่รับผิดชอบ
Abstract
The purpose of this research were to: investigate, compare, identify the relationship, determine the predictive power and establish the guidelines for developing teamwork affecting school effectiveness in schools under Secondary Educational Service Area Office 22 (SESAO 22). The samples consisted of a total of 406 participants including 66 school administrators and 340 teachers in schools under SESAO 22 in the 2019 academic year. The instruments for data collection included two sets of 5-rating scale questionnaire and an interview form. The questionnaire concerned teamwork and school effectiveness had the discriminative power from 0.38 to 0.79 and from 0.34 to 0.81, respectively and the reliability of 0.98. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The teamwork in schools under SESAO 22 was at a high level.
2. The school effectiveness under SESAO 22 was at a high level.
3. The teamwork as perceived by school administrators and teachers with different positions, work experiences and school sizes, as a whole was different at a statistical significance of .01 level.
4. The school effectiveness as perceived by school administrators and teachers with different positions and school sizes, as a whole were different at a statistical significance of .01 level. In terms of work experiences, there were not different in overall.
5. The relationship between teamwork and school effectiveness as a whole had a positive relationship with the statistical significance of .01 level.
6 The teamwork as a whole was able to predict school effectiveness at the statistical significance of .01 level, comprising four factors: Trustworthiness (S6), Communication (S2), Participation (S5) and Human Relations (S3). The predictive power of the school effectiveness as a whole was 81.20% and the Standard Error of the Estimation of ± 0.22786.
The regression equation could be summarized in raw scores as follows:
E = 0.194 + 0.364(S6) + 0.349(S2) + 0.379(S5) - 0.145(S3)
and the regression equation of standardized scores was written as follows:
Z = 0.387 (Z6) + 0.421(Z2) + 0.373(Z5) - 0.226(Z3)
7. The guidelines for developing teamwork affecting school effectiveness comprised four aspects needing improvement:
7.1 Communication. School administrators should ensure a clear communication to teachers concerning information for work performance, and give opportunities to teachers for discussion and expressing opinions openly.
7.2 Human Relations. School administrators should be a role model in assisting and encouraging teachers to be kind and considerate.
7.3 Participation. School administrators should provide teachers opportunities to participate in making their schools successful.
7.4 Trustworthiness. School administrators should assign equally important works to teachers, encourage teachers to have operational plans and empower teachers to make decisions on work responsibilities
คำสำคัญ
การทำงานเป็นทีม, ประสิทธิผลของโรงเรียนKeyword
Teamwork, School Effectivenessกำลังออนไลน์: 60
วันนี้: 1,760
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,959
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093