...
...
เผยแพร่: 28 ก.พ. 2564
หน้า: 1-11
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 720
Download: 212
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทยของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Development of a Training Curriculum for Promoting Creativity in Thai Language for the Thai Major Students Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้แต่ง
จินดา ลาโพธิ์
Author
Jinda Lapho

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ประชากรที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฯ ได้แก่ ประชากรในการศึกษานำร่อง (Pilot Study) ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 5 คน ประชากรในการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน

การวิจัยครั้งนี้มีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฯ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 2.1 แบบทดสอบเพื่อวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทย และ 2.2 แบบสอบถามความพึงพอใจ ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ โดย 3.1 ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม (try out) กับกลุ่มนักศึกษาที่มีคุณลักษณะคล้ายกลุ่มตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงแก้ไข 3.2 ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วกับนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง โดยมีกระบวนการดำเนินการเช่นเดียวกับ try out และ 3.3

ผลการวิจัย พบว่า

สรุปผลการวิจัยการสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฯ สามารถสรุปผลตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาได้ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ ดำเนินการใน 3 ขั้นตอน ได้แก่

1.1 วิเคราะห์ความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมฯ ประกอบด้วยคู่มือหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องของเนื้อหาหลักสูตรและโครงร่างหลักสูตร พบว่าอยู่ในระดับสูงทุกข้อ ถือว่าหลักสูตรมีคุณภาพ

1.2 วิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทย พบว่า ค่าอำนาจจำแนกของความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทยของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย ปรากฏผลดังนี้ 

ด้านความคล่องแคล่วในการคิด ค่าอำนาจจำแนกสูงสุดคือ กิจกรรมที่ 1.4 พฤติกรรมเกี่ยวกับการเดิน มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.63 สำหรับกิจกรรมที่มีค่าอำนาจต่ำสุด คือ กิจกรรมที่ 1.2 การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนั่ง ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.24

ด้านความยืดหยุ่นในการคิด ค่าอำนาจจำแนกสูงสุดคือกิจกรรมที่ 1.4 คำที่มีความหมายว่าน้อยหรือขนาดเล็กมีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.69 สำหรับกิจกรรมที่มีค่าอำนาจต่ำสุด คือ กิจกรรมที่ 1.2 การเคลื่อนไหวร่างกายขณะนั่ง มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.38

ด้านความคิดริเริ่ม ค่าอำนาจจำแนกสูงสุดคือกิจกรรมที่ 3.1 สร้างคำใหม่จากคำว่า แม่ อำนาจจำแนกเท่ากับ 0.67 สำหรับกิจกรรมที่มีค่าอำนาจต่ำสุด คือ กิจกรรมที่ 2.2 การแต่งประโยคความรวมโดยใช้คำสันธาน“ถึง...แต่...ฉะนั้น...จึง” มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.29

ด้านความคิดละเอียดลออ ค่าอำนาจจำแนกสูงสุดคือกิจกรรมที่ 4 เขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้ ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.57 สำหรับกิจกรรมที่มีค่าอำนาจต่ำสุด คือ กิจกรรมที่ 5 เขียนต่อเรื่องให้จบ มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.49

1.3 วิเคราะห์ความเหมาะสมของแบบวัดความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าความสอดคล้องอยู่ในระดับสูงทุกข้อ ถือว่าแบบวัดความพึงพอใจมีคุณภาพ

ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ ดำเนินการใน 3 ขั้นตอน ได้แก่

2.1 วิเคราะห์คะแนนความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทยของนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมฯ ด้วยคะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตามลักษณะการคิด รวมทุกกิจกรรม พบว่า คะแนนความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทย ตามลักษณะการคิดรวมทุกกิจกรรม หลังเข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมทุกลักษณะการคิด โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความคล่องแคล่วในการคิดเท่ากับ 37.57 ด้านความยืดหยุ่นในการคิดเท่ากับ 30.12 ด้านความคิดริเริ่มเท่ากับ 31.58 และด้านความละเอียดลออในการคิดเท่ากับ 28.20

2.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทยของนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกอบรมระหว่างก่อนและหลังการเข้ารับการฝึกอบรม พบว่า ความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทยของนักศึกษาหลังเข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 2.3 วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ พบว่า นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย ที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop a training curriculum for promoting creativity in Thai language for the Thai major students, Sakon Nakhon Rajabhat University; and 2) to verify the efficiency of the training curriculum for promoting creativity in Thai language for the Thai major students of the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University.

The population used in the development of a training curriculum for promoting creativity in Thai language for the Thai major students of the Faculty of Education is a population in the pilot study, i.e., 5 third year students of the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University in the academic year 2015. The population used in the experiment for finding out the performance of the course is 20 third year students of the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University in the academic year 2015.

There are 3 steps of the research process: Step 1, building and developing a training curriculum for promoting creativity in Thai language for the Thai major students of the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University; Step 2, creating and developing tools for the research, i.e., 2.1 a test for creativity in Thai, and 2.2 a satisfaction questionnaire; Step 3, an experiment of the training course by, 3.1 trying out with the students similar to the sample group for improvement, 3.2 using an improved training curriculum with the sample group students with the same process as in the tryout, 3.3 conducting the conclusion of the experiment.

Conclusion.

The process of building and development of a training curriculum for promoting creativity in Thai language for the Thai major students of the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University can be concluded after the procedure of the research and development as follows:

Procedure 1. Building and development of the training curriculum for promoting creativity in Thai language were conducted in 3 processes:

1.1 Analysis of suitability of the training curriculum for promoting creativity in Thai language, included a manual for the training course for promoting creativity in Thai language. The experts have evaluated the agreement of the curriculum structure and contents, and found high scores in all items. It means that the curriculum has a proper quality.

1.2 Analysis of the quality of the test of creativity in Thai language. The discrimination power of creativity in Thai language of the Thai major students appeared as follows:

Ideational Fluency, the highest discrimination power was 0.63, in Activity 1.4 Walking Behaviors, while the lowest discrimination power was 0.24, in Activity 1.2 Body Movement while Sitting.

Flexibility, the highest discrimination power was 0.69, in Activity 1.4 Words mean small or small quantity, while the lowest discrimination power was 0.38, in Activity 1.2 Body Movement while Sitting.

Originality, the highest discrimination power was 0.67, in Activity 3.1 Building new words from “mother,” while the lowest discrimination power was 0.29, in Activity 2.2 Writing compound sentences with conjunctions, “Even But,” “Because…Then.”

Elaboration, the highest discrimination power was 0.57, in Activity 4 Writing a Story from Given Words, while the lowest discrimination power was 0.49, in Activity 5 Writing from an Unfinished Story.

1.3 Analysis of suitability of a satisfaction questionnaire on the training curriculum for promoting creativity in Thai language for the Thai major students of the Faculty of Education, was conducted. The experts have evaluated the agreement of the satisfaction questionnaire on the training curriculum and found high score in all items. It means that the satisfaction questionnaire has a proper quality.

Procedure 2. A study of the efficiency of the training curriculum for promoting creativity in Thai language was conducted in 3 processes:

2.1 Analysis of creativity score in Thai language of the Thai major students who attended the training with average, and standard deviation according to thinking skills in all activities. The scores after attending the training were higher than before attending in all items. The average score of fluency was 37.57, Flexibility was 30.12, Originality was 31.58, and Elaboration was 28.20.

2.2 Comparison of creativity in Thai language of the Thai major students before and after attended the training, it is found that the creativity in Thai language of the Thai major students after attending the training was higher than before attending the training at the .01 level of significance.

2.3 Analysis of satisfaction of the students on the training curriculum for promoting creativity in Thai language. It is found that the Thai major students of the Faculty of Education who attended the training have high score of satisfaction on the training curriculum for promoting creativity in Thai language

คำสำคัญ

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, ความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาไทย, นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย

Keyword

Development of a training curriculum, Promoting creativity in Thai language, Thai Major Students.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093