บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหา การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนต้นแบบ 3) เสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 38 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Definition) ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสรุปบรรยายแบบพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพและปัญหา การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2. การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนต้นแบบพบว่า 1) มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหน่วยการเรียนรู้ทุกรายวิชา 2) มีการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกรายวิชา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ 3) มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและใช้แหล่งเรียนรู้ภายนอก 4) มีการจัดทำเครื่องมือวัดผลประเมินผลตามจุดประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้ และจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้ 1) ด้านการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีการอบรมจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่มีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกระดับชั้น มีการนิเทศและนำผลการนิเทศไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ควรมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และครบทุกระดับชั้น ผู้เรียนสามารถถอดบทเรียนจากกิจกรรมที่ทำ มีการส่งเสริมอาชีพตามความสนใจของผู้เรียน 3) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ควรมีการเชิญวิทยากรจากภายนอก และศึกษานอกสถานที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ควรจัดทำเครื่องมือวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียน และรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาทราบ นำข้อบกพร่องมาพัฒนา ปรับปรุง การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีการเผยแพร่ผลงานของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
Abstract
The objective of this mixed-method research were to investigate the academic administration contexts and guidelines based on the Sufficiency Economy Principle of Ban Pang Mayao School in Chiang Dao district, Chiang Mai province, to examine the academic administration based on the Sufficiency Economy Principle of the prototype schools, and to propose the academic administration guidelines based on the Sufficiency Economy Principle to the school. The purposive sampling method was applied to select 38 samples. The research instruments consisted of a questionnaire, an interview guideline, and a verification form. The quantitative data were statistically analyzed for mean and standard deviation. The Content Analysis was used to analyze the qualitative data and the results are presented descriptively. The research results are summarized as follows. 1. The academic administration contexts and problems of the school were generally at the moderate level and all aspects were also found to be at the moderate level. 2. The academic administration based on the Sufficiency Economy Principle of the prototype schools revealed that the school curricula integrated the principle into learning units in every subject. The integrated learning development focused on learners being able to implement knowledge into their future careers. Internal and external learning resources were developed and utilized. Evaluation and measurement tools were applied to objectives of learning management plans and desirable characteristics of learners. 3. The proposed academic administration guidelines to the school were as follows. For school curriculum administration, training on the construction of the Sufficiency Economy-oriented school curricula should be conducted. There should be supervision and its results should be incorporated into learning management. There should be research studies to develop learning management according to the Sufficiency Economy Principle. For learning process development, there should be Sufficiency Economy-based learning management in every subject strand and level, with learners being able to extract lessons from learning activities. There should be career promotion according to interests of learners. For learning resource development, internal resource development should be carried out, with external lecturers being invited and educational excursions being organized. For evaluation and credit transfer, evaluation and measurement tools should be in line with objectives of learning units. Desirable characteristics of learners should be assessed and the results should be reported to parents and school committee members. Weaknesses should be improved for better efficiency of learning and teaching activities. Performances of learners should be publicized on a regular basis.
คำสำคัญ
การบริหารงานวิชาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงKeyword
Academic Administration, Sufficiency Economy Principleกำลังออนไลน์: 99
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,937
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,136
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093