บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของ งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้เพื่อ 1) ศึกษาวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนบ้านปางมะเยา 2) สร้างแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยา 3) จัดทำคู่มือการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัย พบว่า 1. วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายพึ่งพาอาศัยป่าทั้งการหาอาหารและพื้นที่ทำกิน มีความเป็นอยู่ที่เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเคารพนับถือกัน มีความรักใคร่ปรองดอง ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ในด้านศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม มีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยบรรพบุรุษที่มีการรับวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามาวัฒนธรรมประเพณีที่จัดขึ้นก็ลดน้อยลงกว่าสมัยบรรพบุรุษ รวมถึง การแต่งกายประจำชาติพันธุ์ก็จะสวมใส่ในช่วงที่มีพิธีกรรมสำคัญเท่านั้น 2. การสร้างแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 1) ครู นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการที่จะสร้างแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในโรงเรียน 2) ครู นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนออกแบบแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสำหรับผู้เข้าใช้บริการ 3) ครู นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องลงความเห็นและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการร่วมกันสร้างแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง 4) ครูได้ใช้แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงที่เป็นแบบวิถีชีวิตจริงและแบบจัดแสดงวัตถุข้าวของเครื่องใช้เพื่อบูรณการไปสู่การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาติพันธุ์ของตนเองและของผู้อื่น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural Understanding) 3. การจัดทำคู่มือการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนบ้านปางมะเยาวัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ โครงสร้างและหน้าที่รับผิดชอบของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า วิถีชีวิตของกลุ่มคนพื้นเมือง และการบูรณการแหล่งเรียนรู้สู่การจัดการเรียนการสอน พบว่า คู่มือการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยาอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สามารถใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ให้เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ สร้างความเข้มแข็งแก่ชาติพันธุ์ของนักเรียนในโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อย่างยั่งยืน
Abstract
The objectives of this action research were to investigate the lifestyles of the highland ethnic groups in the service area of Ban Pang Mayao School, to construct the ethnic lifestyle learning resources at the school, and to construct the ethnic lifestyle learning resource administration handbook for the school. The research results are summarized as follows. 1. The ethnic lifestyles in the study area were found to be simple, depending on forest for food and cultivation areas. They led a supportive and helpful lifestyle with respect and love for one another. Most ethnic people were involved in agriculture. However, their religions, beliefs and rituals had changed and been simplified due to contact with modern cultures. Their cultural and traditional practices were far fewer than before, and traditional dresses are worn in important rituals and festivals only. 2. The construction of the ethnic lifestyle learning resources in the school revealed that the teachers, students and involved individuals needed to construct the resources in the school. They were involved in planning and designing the resources in accordance with the needs and suitability of service users. They also agreed to share their responsibilities to collectively construct the resources. The teachers were able to use the actual lifestyles and exhibition to incorporate into their teaching and learning management in order for their students to learn about their and other’s ethnic lifestyles. This would promote mutual learning and cross-cultural understanding. 3. The ethnic-lifestyle learning resource administration handbook consisted of general information of the school, objectives, structure and responsibilities of administration, and lifestyles of the Lahu, Lisu, Akha, and local people. For the integration of the resources into learning and teaching management, it was found that the handbook could be used as a guideline to drive the resources as a learning center as well as to sustainably empower the ethnic students at the school.
คำสำคัญ
การบริหารจัดการ, แหล่งเรียนรู้, วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงKeyword
Administration, Learning Resource, Lifestyles of Highland Ethnic Groupsกำลังออนไลน์: 112
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,115
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,314
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093